บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม

8.28.2555

กาลาปากอส บ่อเกิดแห่ง “ทฤษฎีวิวัฒนาการ และการคัดเลือกตามธรรมชาติ"

 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เกิดเมื่อ 12  กุมภาพันธ์  ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูว์ส์เบอรี (Shrewsbury) ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่ถือว่าร่ำรวยทีเดียว เพราะมีพ่อเป็นถึงนายแพทย์  มีคลีนิกใหญ่ตั้งอยู่นอกเมืองลอนดอน ทางฟากของแม่ก็มาจากครอบครัวของคหบดีเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผา ดาร์วินจึงเติบโตมาอย่างสุขสบายในคฤหาสน์หลังใหญ่ และเป็นธรรมดาของครอบครัวมีอันจะกิน ดาร์วิน จึงได้รับการศึกษาอย่างดี

        เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้ เข้าเรียนแพทย์ ในมหาวิทยาลัยเมืองเอดินเบอร์ก(Edinburg University) ตามรอยพ่อและปู่ แต่ด้วยความที่ไม่ชอบเมื่อขึ้นปีที่ 2 จึงได้เปลี่ยนไปเรียนต่อทางด้าน “เทววิทยา (Theology)” ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แทน พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาทั้งวิชาชีววิทยา ธรณีวิทยา และฟอสสิส ไปด้วย กับศาสตราจารย์ 2 ท่าน คือศาสตราจารย์จอห์น เฮนสโลว์ (John Henslow) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤษฏศาสตร์ และศาสตราจารย์อดัม เซดจ์วิค (Adam Sedgwick) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยา ที่คอยพาดาร์วิน ออกสำรวจตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้ ดาร์วินยังเป็นนักอ่านตัวยง เขาอ่านหนังสือของของนักวิวัฒนาการในยุคปลายศตวรรษที่ 18 เป็นจำนวนมาก

        หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1831 ดาร์วินรู้ตัวเองว่า เขาต้องการเป็นนักชีววิทยามากกว่าที่จะเป็นนักการศาสนาตามที่ได้ร่ำเรียนมา ทำให้เขาต้องการที่จะได้ออกเดินทางท่องโลกเพื่อศึกษาวิทยาศาสตร์ และด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อน จอห์น เฮนสโลว์ช่วยให้ ดาร์วินได้ร่วมทีมสำรวจแห่งราชนาวีอังกฤษเพื่อการร่างแผนที่โลก ในฐานะนักธรรมชาติวิทยา

       กัปตัน โรเบิร์ต ฟิทซ์รอย (Robert FitzRoy)  พร้อมลูกเรืออีก 74 ชีวิต และดาร์วิน เดินทางออกจากอังกฤษในเดือน ธ.ค. 2374   ระหว่างการเดินทางผ่านภูมิประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่สำรวจชายฝั่งอเมริกาใต้เป็นหลัก แม้จะต้องเผชิญคลื่นลมแรง สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและยากลพบาก ดาร์วินก็อดทนและสนใจจดบันทึกเรื่องราวความแปลกใหม่ทางธรรมชาติที่ได้พบเจอ และศึกษาตำราเกี่ยวกับชีวะวิทยาอยู่ตลอดเวลา


ภาพ Charles Darwin – that young explorer of  the ship HMS Beagle
ที่มา nayagam.wordpress.com


        4 ปีต่อมาหลังจากออกเดินทาง ในวันที่ 16 กันยาย ในปี 2378  ดาร์วินด้วยวัยเพียง 26 ปี ก็ก้าวขาลงจากเรือหลวงบีเกิล (HMS Beagle) เพื่อขึ้นสู่ หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos Islands) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ตั้งอยู่ 600 ไมล์ (970 กิโลเมตร) ไปทางทิศตะวันตกของชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ ห่างออกไปประมาณ 970 กิโลเมตร อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยมากมาย เกิดจากภูเขาไฟขนาดยักษ์ มีอายุนับล้านปี บางปล่องก็เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว บาปล่องก็ยังปะทุบ้างเป็นครั้งคราว




ภาพ Map of the Galapagos
ที่มา pictures.solardestinations.com

       กาลาปากอส มาจากคำว่า galapago ซึ่งเป็นภาษาสเปนหมายถึง เต่าบก (tortoise) ซึ่งก็คือสัตว์ที่พบห็นได้มากบนเกาะนี้ หมูเกาะกาลาปากอสมีเกาะน้อยใหญ่หลายเกาะเรียงรายกันในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเกาะหลักๆ 13 เกาะได้แก่ เกาะเฟอร์นาดินา (Fernandina Island), เกาะอิซาเบลา (Isabela Island), เกาะพินซอน (Pinzón Island), เกาะซานติเอโก (Santiago Island), เกาะราบิดา (Rábida Island), เกาะซานตาครูซ (Santa Cruz Island), เกาะซานตาเฟ (Santa Fe Island), เกาะฟลอเรียนา (Floreana Island), เกาะเอสปาโนลา (Española Island), เกาะซานคริสโตบัล (San Cristóbal Island), เกาะเจโนเวซา (Genovesa Island), เกาะมาร์เคนา (Marchena Island), เกาะพินตา (Pinta Island)

       เกาะกาลาปากอสนั้นมีสภาพโดยทั่วไปแห้งแล้งและกันดาร เป็นที่ที่กระแสน้ำเย็นไหลมาพบกับกระแสน้ำอุ่น จึงทำให้สามารถพบสิ่งมีชีวิตได้ทั้งประเภทที่ชอบน้ำเย็น เช่น สิงโตทะเลและเพ็นกวิน รวมทั้งสัตว์ที่ชอบน้ำอุ่นก็หาได้บนเกาะนี้อีกเช่นกัน ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมพันธุ์พืชและสัตว์จำนวนมากหลากหลายสปีชีส์  มีสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตแปลกๆ แทบจะไม่สามารถพบได้ที่ไหนในโลก ทั้งแบบที่เชื่องน่ารัก และมองดูดร้ายน่ากลัว  อาทิ เต่ากระดอง (Galapagos Tortoise) ที่มีน้ำหนักมากถึง 200-500 ปอนด์  กิ่งก่า (iguana) สิงโตทะเล (Galapagos Sea-lion)นกนานาชนิด โดยเฉพาะนกฟินซ์


ภาพ Giant Galapagos tortoises
ที่มา progresoverde.org
 ภาพ Galapagos Marine Iguana
ที่มา worldtimezone.com

        ความ “พิเศษ” ของสิ่งมีชีวิตที่กาลาปากลอสทำให้ ดาร์วินรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เห็น ดาร์วินพบว่ามีนกสปีชีส์เดียวกันแม้ว่ามันจะมีต้นกำเนิดจากแหล่งเดียวกันก็ตาม แต่มันกลับมีลักษณะที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย นกฟินช์(finch) ชนิดหนึ่งบนกาลาปากอส ที่ดาร์วินเคยสนใจศึกษาเป็นพิเศษ เขาได้แบ่งว่าเจ้านกชนิดนี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละเกาะถึง 13 แบบ ซึ่งสิ่งที่ทำให้พวกมันแตกต่างกันนั้น ก็ผันแปรไปตามสิ่งแวดล้อมบริเวณที่นกพวกนั้นอาศัยอยู่ อย่างรูปทรงของจงอยปากที่แตกต่างกันในนกสปีชีส์เดียวกัน ที่เป็นผลมาจากเมล็ดพืช ที่เป็นอาหารของนกที่อยู่บนแต่ละเกาะ



ภาพ Finches from the Galapagos
ที่มา www.dls.ym.edu.tw

       ดาร์วินจึงได้ข้อสรุปซึ่งนับเป็นการนำไปสู่การอธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการ ว่า ในอดีตกาลเมื่อบรรพบุรุษของนกได้มาจากทวีปอเมริกาใต้ แล้วมาแพร่พันธ์ยังเกาะต่างๆของหมู่เกาะกาลาปากอส ซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน นกชนิดใดที่สามารถปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมได้ มันก็จะอยู่รอด สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ มันจะค่อยเกิดกลายกลายพันธุ์จากรุ่นสู่รุ่นอย่างช้าๆ แบบที่เรียกว่า“กลายพันธุ์” และเมื่อการกลายพันธุ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยั่งยืนมันก็จะกลายเป็นวิวัฒนาการที่เรียกว่า “การปรับตัวสืบทอด (descent with modification)” ส่วนตัวใดที่ไม่สามารถปรับตัวได้ มันก็จะค่อยๆหายไป และสูญพันธุ์ลงในที่สุด ซึ่งกลไกที่คอยคัดสรรว่าสัตว์ใดจะอยู่ สัตว์ใดจะไป นั้นก็คือสิ่งที่ดาร์วินเรียกว่า “การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)” นั่นเอง

       ความแตกต่างได้แฝงตัวอยู่ในสิ่งมีชีวิต ทำให้พวกมันสามารถปรับตัวและแพร่พันธุ์สืบทอดสู่รุ่นต่อๆไป ซึ่งกุญแจสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมีความแตกต่างกันก็คือ สภาพแวดล้อมที่ต่างกันนั่นเอง  หรือที่จะกล่าวว่า "สภาพแวดล้อมไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดการผันแปรของสิ่งมีชีวิต หากแต่ความผันแปรเหล่านั้นมีอยู่ในทุกชีวิตอยู่แล้ว ธรรมชาติจึงทำหน้าที่เป็นเพียงผู้คัดสรร"

       ดาร์วินได้ใช้เวลาเพื่อรวบรวมหลักฐานต่างๆและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการที่เขาค้นพบยาวนานถึง 20 ปีต่อมาในอังกฤษ จนกระทั่งได้เสนอแนวคิดทฤษฎี “วิวัฒนาการ” ออกมาเป็นหนังสือที่มีชื่อว่า "On the Origin of the Species" ตีพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 เพื่อเผยแพร่ออกสู่แวดวงวิชาการของประเทศยุโรปและอเมริกา เนื้อหาในเล่มได้อธิบายถึงเเนวคิดที่เกี่ยวของกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และการคัดสรรโดยธรรมชาติว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตหนึ่งจึงอยู่รอด แต่อีกชนิดกลับสูญพันธ์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงผลจากสิ่งแวดล้อมว่ามีอิทธิพลทำให้สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องปรับสภาพเปลี่ยนแปลง โครงสร้าง ทางร่างกายและพฤติกรรมจากรูปแบบหนึ่งมาสู่รูปแบบหนึ่งในระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในธรรมชาติ ตามที่ดาร์วินเรียกว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)"  นี่ถ้าดาร์วินมีอายุยืนยาวพออีกสักศตวรรษ เขาก็จะได้รู้จักกับดีเอ็นเอ สิ่งที่จะเฉลยเรื่องราวเหล่านี้ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น


ภาพ On the Origin of Species
ที่มา scienceblogs.com

        และหนังสืออีกเล่มที่โด่งดังไม่แพ้กันก็คือ " The Descent of Man " ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2414 ในเล่มนี้ดาร์วินได้นำทฤษฎีวิวัฒนาการมาใช้อธิบายเกี่ยวกับมนุษย์ว่า เผ่าพันธุ์มนุษย์และลิงไม่มีหาง (ape) มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน นั้นคือมนุษย์เป็นเพียงสัตว์สปีชีส์หนึ่งเท่านั้น หาใช่สิ่งมีชีวิตอันพิเศษที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของพระเจ้า



ภาพ the descent of man
ที่มา knowfree.net

       และแน่นอนว่าแม้ทฤษฎีนี้จะพลิกมุมคิดวงการชีวะวิทยาอย่างมาก แต่ในยุคนั้นมันช่างขัดกับความเชื่อและศรัทธาของผู้คนส่วนใหญ่ ที่เชื่อกันว่า “พระเจ้าคือผู้สร้างนกทั้ง 13 ชนิดให้แตกต่างกัน ไม่กี่ยวกับเรื่องของวิวัฒนาการใดๆเลยที่จะที่ทำให้จงอยปากของพวกนกหล่านั้นแตกต่างกัน” จึงไม่แปลกที่แนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการ และการคัดเลือกตามธรรมชาติของดาร์วินจะถูกต่อต้านอย่างหนักว่าเป็นความคิดนอกรีต แต่ในวันนี้เมื่อวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ทฤษฎีของดาร์วินแล้ว เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งทฤษฎีของวิวัฒนาการ

       หมู่เกาะกาลาปากอส ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) เมื่อปี พ.ศ. 2521 ด้วยจุดเด่นคือ ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่แปลกตาและสวยงามมากมาย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นสปีชีส์ที่หากใครอยากเจอต้องมาที่หมู่เกาะกาลาปากอสเท่านั้น เช่น


ภาพ blue-footed booby, Galapagos
ที่มา www.birdsasart.com


ภาพ Galapagos Sea-lion with Bonita-Mackerel, Galapagos
ที่มา www.birdsasart.com

       นอกจากนี้บนเกาะยังมีทะเลสาบที่ชื่อดาร์วินเพื่อระลึกถึง ชาร์ล ดาร์วิน และมีสถานีวิจัยและอนุรักษ์เต่าและอีกัวน่า ซึ่งอีกัวนาที่หมู่เกาะกาลาปากอสนี้มีความหลากหลายมาก โดยหลักๆ แบ่งเป็นอีกัวนาบก และอีกัวนาทะเล

       แต่ปัจจุบันกาลาปากอสกำลังถูกคุกคาม สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างหนักจากการบุกรุกของมนุษย์นั้นเองโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว แม้ซีดีเอฟและอุทยานแห่งชาติกาลาปากอส (Galapagos National Park) จะพยายามจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่ในที่สุด เมื่อเดือน มิ.ย. 2550 ยูเนสโกได้ประกาศ ขึ้นบัญชีหมู่เกาะกาลาปากอสให้เป็นมรดกโลกที่กำลังถูกคุกคาม  


ภาพ Galapagos Islands tour
ที่มา travelwizard.com

        แม้การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตจะทำให้พวกมันถูกธรรมชาติคัดสรรค์ให้อยู่รอดได้ แต่ดูเหมือนเมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากมนุษย์ การปรับตัวตามธรรมชาติคงไม่อาจทำให้พวกมัดอยู่รอดไดhfuเท่าไหร่นัก หรือมนุษย์นอกจากจะครองโลกแล้วยังจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่จะอยู่บนโลกนี้

ที่มาของข้อมูล  http://www.vcharkarn.com/varticle/39371

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น