บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม

9.13.2555

ทำไม?? ใบไมเปลี่ยนสี

ใบไม้เปลี่ยนสี
เมื่อลมหนาวมาเยือน หลายๆ คน คงสังเกตเห็นการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติรอบๆ ตัว โดยเฉพาะ ต้นไม้ที่เจริญในเขตอบอุ่น ส่วนที่จะเห็นการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนคือ ส่วนของใบ โดยใบไม้ที่มี สีเขียว จะมีการเปลี่ยนสีที่แตกต่างกันไป บ้างก็จะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอ่อน สีส้ม สีแดง และสีน้ำตาล เมื่อเวลา ผ่านไปสักระยะหนึ่งใบไม้ที่มีการเปลี่ยนสีต่าง ๆ เหล่านี้ก็จะกลายเป็นเป็นใบไม้แห้งร่วงหล่นจากต้นลงสู่พื้นดิน กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่มีประโยชน์ต่อระบบนิเวศต่อไป



    สีเขียวของใบไม้เกิดขึ้นเนื่องมาจากสารสีคลอโรฟิลล์ พบอยู่ในคลอโรพลาสต์ (chloroplast) ซึ่งมี โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุงแบนๆ มีเยื่อหุ้ม เรียกว่า ไทลาคอยด์ (thylacoid) และบนไทลาคอยด์นี้เองที่มี คลอโรฟิลล์ที่ทำหน้าที่ในการรับพลังงานจากดวงอาทิตย์ เพื่อเป็นแหล่งพลังงานในกระบวนการสร้างอาหาร ของ พืชด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง (photosynthesis) ซึ่งกระบวนการสร้างอาหารของพืชจะเกิดขึ้น บริเวณส่วนที่เป็นสีเขียวของพืช เช่น ใบ

ทำไมใบไม้เปลี่ยนสี ????  

             ในเซลล์พืชนอกจากสารสีคลอโรฟิลล์ที่ทำให้พืชมีสีเขียวแล้ว ยังมีสารสีแคโรทีนอยด์ (carotenoid) ซึ่งเป็น สารประกอบประเภทไขมัน มีโมเลกุลขนาดใหญ่ ในพืชชั้นสูงสารสีแคโรทีนอยด์ อยู่ในคลอโรพลาสต์ ประกอบด้วย สารสี 2 ชนิด แคโรทีน (carotene) เป็นสารสีแดงหรือสีส้ม หากมีสารสีคลอโรฟิลล์และสารสี แคโรทีน อยู่ในใบเดียวกัน จะสะท้อนแสงสีแดง เขียวแกมน้ำเงินและแสงสีน้ำเงิน ทำให้ใบมีสีเขียว แซนโทฟิลล์ (xantrophyll) เป็นสารสีเหลืองหรือสีน้ำตาล

             ในเซลล์พืชโดยปกติมีสารสีทั้ง 3 ชนิด แต่ถ้ามีสารสีชนิดใดมากกว่า พืชชนิดนั้นก็จะปรากฏให้เห็นสี ของสารสีชนิดนั้น ๆ เช่น ใบของต้นมะม่วงสีเขียว เนื่องจากมีคลอโรฟิลล์อยู่มาก

             พืชต้องการแสงและอุณหภูมิที่เหมาะสมในการผลิตคลอโรฟิลล์ เพื่อใช้ในการสร้างอาหารโดยการ สังเคราะห์ด้วยแสง ซึ่งปกติพืชจะมีการสร้างคลอโรฟิลล์อยู่ตลอดเวลา จึงทำให้ใบไม้มีสีเขียว แต่ใบไม้เหล่านี้ ก็จะมีการเปลี่ยนสีได้ เมื่อมีการเปลี่ยนสีได้ เมือมีการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยต่าง ๆ เกิดขึ้น โดยเฉพาะ การเปลี่ยนแปลงของฤดูกาล เพราะการเปลี่ยนแปลงของฤดูกาลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของช่วงความยาว ของวัน กล่าวคือ ในช่วงฤดูหนาวจะมีช่วงเวลากลางวันสั้นกว่าในช่วงฤดูร้อน และมีช่วงเวลากลางคืนที่นานกว่า ฤดูร้อน การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ส่งผลต่อปริมาณแสงที่พืชได้รับ คือ ในช่วง ฤดูหนาวพืชได้รับแสงในปริมารน้อยลง และอุณหภูมิก็มีค่าต่ำลง พืชจึงมีการตอบสนอง โดยการสร้างคลอโรฟิลล์ ในปริมาณที่น้อยลง และในขณะเดียวกันคลอโรฟิลล์ที่มีอยู่เดิมก็จะสลายตัวอยู่ตัวตลอดเวลา ใบไม้ที่มีสีเขียว จึง เริ่มมีการเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลืองหรือส้ม แดง จนในที่สุดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและร่วงลงสู้พื้นดิน (เข้าสู่กระบวนการร่วงของใบ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากบทความ ปี 2545 เรื่อง ต้นไม้สลัดใบ)

ถ้าพืชไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียว สามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้หรือไม่ ?
             คลอโรฟิลล์ไม่เพียงทำให้พืชมีสีเขียวเท่านั้น โดยคลอโรฟิลล์ เอ ให้สีเขียวเข้ม คลอโรฟิลล์ บี ให้สี เขียวอ่อน คลอโรฟิลล์ ซี ให้สีส้ม คลอโรฟิลล์ ดี ให้สีน้ำตาล ดังนั้นพืชที่ไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียวก็ไม่ได้หมายถึง ไม่มีคลอโรฟิลล์ แต่อย่างไรก็ตามพืชที่จะสามารถสังเคราะหืด้วยแสงได้จะต้องมีสารสีคลอโรฟิลล์เอ ที่เป็น สารสีหลักที่จะถ่ายทอดอิเล็กตรอนในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ... ดังนั้นแม้พืชทีไม่มีส่วนที่เป็นสีเขียว จึงมีกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเกิดขึ้นได้

เอกสารอ้างอิง

ชวนพิศ แดงสวัสดิ์. 2544. สรีรวิทยาของพืช. พัฒนาศึกษา: กรุงเทพฯ.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. 2548. หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติมชีววิทยา เล่ม 4 กลุ่มสาระการเรียน

http://www.i-creativeweb.com/demo/biology/index.php?option=com_content&view=article&id=173:2009-12-23-06-17-48&catid=45:bio-article-&Itemid=112

การสืบพันธุ์ของพืชดอก

วิตมินซีดีอย่างไร

  วิตามินซี (vitamin C) หรือที่รู้จักกันดีในชื่อกรดแอสคอบิก (ascorbic acid) เป็นวิตามินที่ละลายในน้ำได้  มีความจำเป็นต่อการเจริญและพัฒนาของเนื้อเยื่อต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมรวมไปถึงมนุษย์ไม่สามารถสร้างวิตามินซีขึ้นเองได้ แต่จะได้รับวิตามินซีจากอาหารที่รับประทานเข้าไป

บทบาทสำคัญของวิตามินซีมากมายหลายประการ ยกตัวอย่างเช่น 

 1. เป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการสังเคราะห์คอลลาเจน ซึ่งเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างของหลอดเลือด เอ็น กระดูก และฟัน 
 2. เป็นสารด้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่มีประสิทธิภาพสุงช่วยปกป้องเซลล์ ทำให้เซลล์อยู่ในสภาวะปกติ 
 3. ช่วยให้ร่างกายสามารถดูดซึมแร่ธาตุจากอาหารได้ดียิ่งขึ้น 
 4. มีส่วนช่วยในการสังเคราะห์สารสื่อประสาทจำพวก norepinephrine ซึ่งสารสื่อประสาทดังกล่าวนี้มีส่วนช่วยทำให้มองรับรู้เกี่ยวกับอารมณ์ 
 5. ช่วยในการสังเคราะห์สาร carnitine ซึ่งเป็นสารโมเลกุลขนาดเล็กที่มีส่วนช่วยในการลำเลียงไขมันที่ไมโทคอนเดรียเพื่อเปลี่ยนให้เป็นพลังงาน 
     แก่ร่างกาย 
 6. มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการเมแทบอลิซึมของโคเลสเทอรอล โดยจะช่วยเปลี่ยนโคเลสเทอรอลให้กลายเป็นกรดน้ำดี (bile acids) ทำให้ 
     ระดับโคเลสเทอรอลในหลอดเลือดลดลงได้ 
 7. เสริมภูมิต้านทานและช่วยบรรเทาอาการภูมิแพ้ เนื่องจากวิตามินซีมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านสารที่ก่อให้เกิดอาการภูมิแพ้ได้ 
  
          สำหรับอาหารที่จัดว่ามีวิตามินซีสูง ได้แก่ อาหารจำพวกผักและผลไม้ เช่น ส้ม ฝรั่ง มะละกอ มะนาว กีวี พริกหยวก ผักกาด มะเขือเทศ หน่อไม้ฝรั่งและบล็อคโคลี่ เป็นต้น เนื่องจากวิตามินซีสลายได้ง่ายเมื่อสัมผัสกับอากาศ แสง โลหะหรือความร้อน ดังนั้นส่วนใหญ่วิตามินซีที่มีอยู่ในอาหารจะสูญเสียไประหว่างขั้นตอนของการประกอบอาหาร เช่น ในกระบวนการต้มหรือนึ่งอาหารที่ใช้เวลานานมากเกินไป เช่นเดียวกับการแช่ผักไว้ในช่องแช่แข็งเป็นระยะเวลานานหรือหั่นผักแล้วนำไปแช่น้ำจะทำให้วิตามินซีละลายไปกับน้ำได้ นอกจากนั้นการคั้นน้ำผลไม้รับประทานควรจะคั้นแล้วรับประทานเลยทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 2 วัน ถ้าเป็นไปได้ควรบริโภคผักและผลไม้สดเพราะจะให้ทำให้ได้รับวิตามินซีในปริมาณที่มากที่สุดได้