บล็อกนี้ได้จัดทำขึ้นเพื่อใช้ในการจัดการเรียนการสอนรายวิชาอินเตอร์เน็ตและการสื่อสารในชีวิตประจำวัน เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ที่ให้ความสนใจ ขอขอบพระคุณทุกท่านที่มาเยี่ยมชม

8.29.2555

น่ารู้เกี่ยวกับ "การโคลนนิ่ง"

โคลนนิ่งมนุษย์ผิดจริยธรรม?

ประเด็นจริยธรรม
ข่าวใหญ่ในวงการแพทย์ ที่เกิดขึ้นก่อนสิ้นปี 2545 นี้คือเรื่องการคลอดของทารก Eve ซึ่งองค์การลัทธิไลเลียน (Raelien Sect) ซึ่งอ้างว่าตนเป็นศาสนาใหม่ที่มีความเชื่อว่ามนุษย์ต่างดาวได้ใช้วิธีการโคลนมนุษย์ชุดชุดแรกไว้ในโลกเมื่อ สองหมื่นห้าพันปีก่อนและมีความเชื่อว่าการโคลนมนุษย์เป็นวิธีการหนึ่งที่จะนำ ให้เผ่าพันธุ์ของมนุษยชาติได้เข้าถึงความเป็นอมตะได้ในที่สุด ผู้นำ ลัทธินี้ได้อ้างว่าได้ทำ การโคลนมนุษย์ให้แก่คู่ครองจำนวน 10 คู่ ซึ่งต่อมาครึ่งหนึ่งของจำ นวนนี้กำ ลังจะให้กำ เนิดทารก ซึ่งทารกที่เกิดจากการโคลนคนแรกของโลกได้เกิดขึ้นในวันที่ 26 ธันวาคมโดยมีแม่เป็นสตรีชาวอเมริกัน และต่อมาในวันที่ 5 มกราคม ทารกคนที่สองซึ่งเกิดจากเทคนิดเดียวกันลืมตามองดูโลกขึ้นเป็นครั้งแรก และต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้จะมีคุณแม่อีกหลายคนที่จะให้กำ เนิดทารกที่เกิดจากการโคลน

         แม้ว่าทางองค์การ Cloneaid ได้แถลงข่าวอย่างเป็นทางการถึงสองครั้งแล้วก็ตามแต่ในปัจจุบันก็ยังไม่มีองค์การใดที่จะเข้ามาตรวจสอบDNA ของทั้งมารดาและทารกทั้งสองคู่นี้ เพื่อยืนยันหรือปฏิเสธว่าทารกทัง้ คมู่ กี าํ เนดิ จากเทคนคิ ทางการโคลนมนุษย์ดังที่องค์การ Cloneaid ได้
อ้างไว้

         อันที่จริงเทคนิคการโคลนเซลล์ของสิ่งมีชีวิตนั้นมิใช่ของใหม่ ได้มีการพัฒนาการโคลนเซลล์ของพืชมากกว่า 30 ปีมาแล้วและได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างกว้างขวาง ส่วนการนำเทคนิคนี้มาใช้ในสัตว์ที่มีวิวัฒนาการสูง เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนํ้านมนั้นเป็นข่าวใหญ่ในเดือนกุมภาพันธุ์ พ.ศ. 2540 เมื่อสถาบันโรสลิน (Roslin Institute) แห่งนครเอดินเบอร์ก แคว้นสก๊อตแลนด์ได้ประกาศการโคลนแกะดอลลี่ (Dolly the Sheep) ความเป็นไปได้ของการโคลนมนุษย์ดูจะมีความเป็นจริงมากยิ่งขึ้นทุกขณะ ผลลัพธ์จากการโคลนแกะดอลลี่นี้ส่งผลให้ประเทศมหาอำ นาจในยุโรป และองค์การทางศาสนาหลายแห่ง รวมทั้งองค์การสหประชาชาติได้ประณามและออกกฎเกณฑ์ห้ามการนำ เทคนิคนี้มาใช้ในมนุษย์อย่างเด็ดขาด ต้นเหตุสำคัญของข้อถกเถียงในเรื่องการออกกฎหมายห้ามการโคลนมนุษย์ในลักษณะนี้ มีต้นกำเนิดจากความเข้าในในเทคนิคการโคลนเมื่อมองจากทัศนะของผู้เชี่ยวชาญสาขาต่างๆ กัน นักบวชและนักการศาสนา
           นับตั้งแต่การเกิดการโคลนแกะดอลลี่ได้สำ เร็จ ความเป็นไปได้ที่จะเกิดการโคลนมนุษย์นั้นมีความเป็นไปได้สูงขึ้นอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีที่ใช้นั้นไม่แตกต่างกันมากนัก อีกทั้งยังไม่ต้องการเครื่องมือที่ซับซ้อนหรือการใช้งบประมาณสูง อีกทั้งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์และนายแพทย์หัวก้าวหน้าจำ นวนหนึ่งเกิดความรู้สึกท้าทายว่าใครจะเป็นคนแรกที่ทำ การโคลนมนุษย์ได้สำเร็จ

           สันตะปาปาจอห์นปอลล์ที่สอง ได้ออกแถลงการณ์ประณามการโคลนนิงมนุษย์และได้ทรงเป็นผู้นำ ทางศาสนาโลกคนแรกที่โจมตีการโคลนนิงมนุษย์ตั้งแต่ต้น นอกจากนั้นแล้วประธานาธิบดี จอร์จ ดับบลิว บุช ก็ได้ปราศรัยแสดงความไม่เห็นด้วยในการโคลนนิงมนุษย์อีกเช่นกัน แม้กระทั่ง มาตราที่ 11 แห่ง ปฎิญญาสากลว่าด้วยการทดลองว่าด้วย รหัสพันธุกรรมของมนุษย์ขององค์การยูเนสโก (UNESCO) ได้ประกาศห้ามการโคลนมนุษย์ด้วยเช่นกัน กระนั้นประเทศมหาอำนาจหลายประเทศรวมทั้งสหรัฐอเมริกา ก็มิได้มีการออกกฎหมายห้ามการโคลนนิ่งมนุษย์อย่างเด็ดขาดเหมือนประเทศในทวีปยุโรปอีกหลายประเทศผู้นำ ศาสนาอีกหลายศาสนาได้แสดงความไม่เห็นด้วยในเรื่อง

           โคลนนิ่งนี้อย่างเปิดเผย ด้วยเหตุผลสำ คัญคือมนุษย์ได้ล่วงละเมิดเข้าไปในดินแดนของพระผู้เป็นเจ้าแล้ว
ผลกระทบประการแรกนับจากที่ได้มีการประกาศว่าทารก Eve เด็กหญิงคนแรกที่เกิดจากการโคลนนิ่งได้ลืมตาดูโลกแล้ว โดยเกิดจากการสร้างทารกจากรหัสพันธุกรรมของมารดา เพราะความจำ เป็นที่ทั้งสามีของนางเป็นหมันและทั้งคู่ต้องการมีบุตรอย่างมาก สำ นักวาติกันได้ออกประกาศประณามการการโคลนนิ่งในครั้งนี้อีก ว่าเป็นการกระทำที่ไร้ความรับผิดชอบในชีวิตมนุษย์ เหตุผลอีกประการหนึ่งของนักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งคือการโคลนนิ่งมนุษย์นั้นยังเป็นเทคโนโลยีที่ไม่สมบูรณ์เพียงพอที่จะทดลองในมนุษย์ได้ ดังเช่นตัวอย่างของแกะดอลลีซึ่งเมื่ออายุได้เพียงห้าปีก็มีอาการป่วยข้ออักเสบ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าแกะตัวนี้มีอายุทางชีวภาพที่แก่กว่าแกะที่เกิดจากวิธีปฏิสนธิทางธรรมชาตกิ วา่ 5 ป ี สว่ นนักวทิ ยาศาสตรก์ ลมุ่ ใหญอี่กกลุ่มยังไม่ยอมรับว่า
Cloneaid โคลนทารกเหล่านี้จริงตามคำ กล่าวอ้างเนื่องยังไม่มีรายงานยืนยันจากแหล่งข่าวอิสระ หรือสถาบันวิจัยทางการแพทย์ที่เป็นอิสระแห่งใดแห่งหนึ่งเป็นผู้รับรอง ชื่อสกุลและที่อยู่ของสามีภรรยาคู่นี้พร้อมกับทารกทาง Cloneaid ยังคงปิดเป็นความลับ

           ผู้ที่มีความคิดแบบอนุรักษ์นิยมมักประณามการโคลนมนุษย์ว่าไม่เหมาะสม เนื่องจากเป็นการเกิดขึ้นของชีวิตที่ผิดธรรมชาติ คือ ไม่มีการปฏิสนธิของตัวอสุจิและไข่ที่สุกแล้ว ชีวิตของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนมนั้นเป็นชีวิตที่ล้วนได้ผ่านกระบวนการปฏิสนธิทั้งสิ้น การเกิดของดอลลีและสัตว์ที่ถูกโคลนนิ่งเหล่านี้จึงเท่ากับเป็นการฝืนธรรมชาติอย่างมาก แต่หากมองอีกแง่หนึ่งความสำ เร็จของเทคโนโลยีนี้ได้เปลี่ยนแปลงความ
เชื่อของมนุษย์ในศาสนาเทวนิยมไปอย่างมาก เพราะเท่ากับเป็นการปฏิเสธบทบาทของพระผู้เป็นเจ้าในการบัญชาการเกิดของพระวิญญาณศักดิ์สิทธิให้เข้าสู่ครรภ์มารดา เมื่อตัวอสุจิและไข่มีการปฏิสนธิ
นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งที่สนับสนุนการโคลนนิ่งได้วิจารณ์การใช้เหตุผลนี้ว่าเป็นเหตุผลดั้งเดิมที่เคยยกขึ้นมาแล้วเมื่อยี่สิบปีก่อนของพวกเคร่งคัมภีร์ทั้งหลาย เมื่อนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาเทคนิคการผสมเทียมเด็กหลอดแก้วได้สำ เร็จ และเทคนิคนี้ในปัจจุบันได้เป็นที่ยอมรับกันอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ทั่วโลก และใช้ในการแก้ไขปัญหาการมีบุตรยากของสามีภรรยานับแสนคู่ทั่วโลกในปัจจุบัน หรือเมื่อนายแพทย์คริสเตียนเบอร์นาร์ด ชาวอัฟริกาใต้ได้ผ่าตัดเปลี่ยนหัวใจมนุษย์ได้สำ เร็จ ก็พบกับคำ วิจารณ์ของพวกเคร่งคัมภีร์และสื่อมวลชนในรัสเซียในยุคสงครามเย็นเช่นกัน ดูจะเป็นธรรมดาที่ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ทุกครั้งจะได้รับการวิจารณ์อย่างรุนแรงจากสถาบันทางสังคมหลายฝ่ายกว่าจะเป็นที่ยอมรับ


อ้างอิง
•fercit.org/Newsletter/news3_1.pdf•www.bu.ac.th/knowledgecenter/epaper/jan_june2005/daungdown.pdf

การอยู่ร่วมกันของสิ่งมีชีวิต

ความหลากหลายทางชีวภาพ ( Biological Diversity )

หมายถึง การมีชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิดมาอยู่ร่วมกัน ณ สถานที่หนึ่งหรือระบบนิเวศใดระบบนิเวศหนึ่งซึ่งสามารถจัดแบ่งความหลากหลายทางชีวภาพ ได้เป็น3 ลักษณะ คือ

1.ความหลากหลายของชนิดพันธุ์ ( species diversity ) หมายถึงความหลากหลายของชนิดของสิ่งมีชีวิตที่มีอยู่ในพื้นที่หนึ่งๆนักชีววิทยาวัดความหลากหลายของชนิดพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต โดยดูจาก 2 ลักษณะ คือ

              1.1. ความมากชนิด (species richness) หมายถึง จำนวนชนิดของสิ่งมีชีวิตต่อหน่วยเนื้อที่ เช่น ประเทศเมืองหนาวในพื้นที่หนึ่งๆมีต้นไม้อยู่ประมาณ 1 – 5 ชนิด ขณะที่ป่าในประเทศเขตร้อนในพื้นที่เท่ากันมีต้นไม้นับร้อยชนิด เป็นต้น



             1.2. ความสม่ำเสมอของชนิด (species eveness) หมายถึง สัดส่วนของสิ่งมีชีวิตในระบบนิเวศหนึ่ง ๆดังนั้นความหลากหลายทางชนิดพันธุ์จึงสามารถวัดได้จากจำนวนของสิ่งมีชีวิตและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดรวมถึงโครงสร้างของอายุและเพศของประชากรด้วยความหลากหลายของชนิดพันธุ์จะแตกต่างกันไปตามพื้นที่พื้นที่ที่อยู่ในเขตร้อน(tropics) และในทะเลลึกจะมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สูงและความหลากหลายของชนิดจะลดลงในพื้นที่ที่มีความผันแปรของอากาศสูง เช่นในทะเลทรายหรือขั้วโลก หรืออาจกล่าวได้ว่าในบริเวณเขตร้อนในแถบละติจูดต่ำ(low lattitude) ใกล้เส้นศูนย์สูตรจะมีความหลากหลายของชนิดพันธุ์สูงและจะลดลงเมื่ออยู่ในแถบละติจูดสูง (high lattitude)
     
 2.ในระบบนิเวศหนึ่งๆ จะประกอบด้วยกลุ่มสิ่งมีชีวิตหลากหลายชนิด แม้ในสิ่งมีชีวิตเดียวกันก็ยังมีความหลากหลายทางพันธุกรรมที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ต่างๆ อันเป็นรากฐานสำคัญที่เอื้ออำนวยให้สิ่งมีชีวิตสามารถดำรงชีวิตให้สอดคล้องกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมรอบๆตัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์ได้สืบไปความหลากหลายของพันธุกรรม ( genetic diversity ) หมายถึงความหลากหลายของหน่วยพันธุกรรมหรือยีน(genes) ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิด สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันอาจมียีนแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์เช่น ข้าวซึ่งมีสายพันธุ์มากมายหลายพันชนิด เป็นต้น
 
                                  

ความแตกต่างผันแปรทางพันธุกรรมในแต่ละหน่วยชีวิตมีสาเหตุมาจากการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรม (mutation)อาจเกิดขึ้นในระดับยีน หรือในระดับโครโมโซมผสมผสานกับการสืบพันธุ์แบบอาศัยเพศ ซึ่งเกิดขึ้นตามธรรมชาติได้น้อยมาก และเมื่อลักษณะดังกล่าวถูกถ่ายทอดไปยังรุ่นลูก จะทำให้เกิดความหลากหลายทางพันธุกรรม เช่นแมว
ที่มีลักษณะรูปร่างหลากหลายที่แตกต่างกัน เป็นต้น

     
  3.ความหลากหลายของระบบนิเวศ ( ecolosystem diversity ) หมายถึง สภาวะแวดล้อมที่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆรวมไปถึงสิ่งไม่มีชีวิตอื่น ๆ   ซึ่งจัดเป็นปัจจัยทางกายภาพ ได้แก่ อุณหภูมิ ความชื้น ดิน น้ำเป็นต้นระบบนิเวศแต่ละระบบเป็นแหล่งของถิ่นที่อยู่อาศัย(habitat)ของสิ่งมีชีวิตชนิดต่างๆซึ่งมีปัจจัยทางกายภาพและชีวภาพที่เหมาะสมกับสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดในระบบนิเวศนั้นสิ่งมีชีวิตบางชนิดมีวิวัฒนาการมาในทิศทางที่สามารถปรับตัวให้อยู่ได้ในระบบนิเวศที่หลากหลายแต่บางชนิดก็อยู่ได้เพียงระบบนิเวศที่มีภาวะเฉพาะเจาะจงเท่านั้นความหลากหลายของระบบนิเวศขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนประชากรของสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศ


                                                      
                                                    


8.28.2555

ทฤษฎีวิวัฒนาการของชาร์ล ดาร์วิน

กาลาปากอส บ่อเกิดแห่ง “ทฤษฎีวิวัฒนาการ และการคัดเลือกตามธรรมชาติ"

 ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) เกิดเมื่อ 12  กุมภาพันธ์  ค.ศ. 1809 ที่เมืองชรูว์ส์เบอรี (Shrewsbury) ประเทศอังกฤษ ในครอบครัวที่ถือว่าร่ำรวยทีเดียว เพราะมีพ่อเป็นถึงนายแพทย์  มีคลีนิกใหญ่ตั้งอยู่นอกเมืองลอนดอน ทางฟากของแม่ก็มาจากครอบครัวของคหบดีเจ้าของโรงงานผลิตเครื่องปั้นดินเผา ดาร์วินจึงเติบโตมาอย่างสุขสบายในคฤหาสน์หลังใหญ่ และเป็นธรรมดาของครอบครัวมีอันจะกิน ดาร์วิน จึงได้รับการศึกษาอย่างดี

        เมื่ออายุได้ 16 ปี ก็ได้ เข้าเรียนแพทย์ ในมหาวิทยาลัยเมืองเอดินเบอร์ก(Edinburg University) ตามรอยพ่อและปู่ แต่ด้วยความที่ไม่ชอบเมื่อขึ้นปีที่ 2 จึงได้เปลี่ยนไปเรียนต่อทางด้าน “เทววิทยา (Theology)” ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์แทน พร้อมกันนั้นก็ได้ศึกษาทั้งวิชาชีววิทยา ธรณีวิทยา และฟอสสิส ไปด้วย กับศาสตราจารย์ 2 ท่าน คือศาสตราจารย์จอห์น เฮนสโลว์ (John Henslow) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพฤษฏศาสตร์ และศาสตราจารย์อดัม เซดจ์วิค (Adam Sedgwick) ผู้เชี่ยวชาญทางด้านธรณีวิทยา ที่คอยพาดาร์วิน ออกสำรวจตามสถานที่ต่าง ๆ อยู่เสมอ นอกจากนี้ ดาร์วินยังเป็นนักอ่านตัวยง เขาอ่านหนังสือของของนักวิวัฒนาการในยุคปลายศตวรรษที่ 18 เป็นจำนวนมาก

        หลังจบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ ในปี 1831 ดาร์วินรู้ตัวเองว่า เขาต้องการเป็นนักชีววิทยามากกว่าที่จะเป็นนักการศาสนาตามที่ได้ร่ำเรียนมา ทำให้เขาต้องการที่จะได้ออกเดินทางท่องโลกเพื่อศึกษาวิทยาศาสตร์ และด้วยความช่วยเหลือจากเพื่อน จอห์น เฮนสโลว์ช่วยให้ ดาร์วินได้ร่วมทีมสำรวจแห่งราชนาวีอังกฤษเพื่อการร่างแผนที่โลก ในฐานะนักธรรมชาติวิทยา

       กัปตัน โรเบิร์ต ฟิทซ์รอย (Robert FitzRoy)  พร้อมลูกเรืออีก 74 ชีวิต และดาร์วิน เดินทางออกจากอังกฤษในเดือน ธ.ค. 2374   ระหว่างการเดินทางผ่านภูมิประเทศต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่สำรวจชายฝั่งอเมริกาใต้เป็นหลัก แม้จะต้องเผชิญคลื่นลมแรง สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง ที่ทำให้เกิดการเจ็บป่วยและยากลพบาก ดาร์วินก็อดทนและสนใจจดบันทึกเรื่องราวความแปลกใหม่ทางธรรมชาติที่ได้พบเจอ และศึกษาตำราเกี่ยวกับชีวะวิทยาอยู่ตลอดเวลา


ภาพ Charles Darwin – that young explorer of  the ship HMS Beagle
ที่มา nayagam.wordpress.com


        4 ปีต่อมาหลังจากออกเดินทาง ในวันที่ 16 กันยาย ในปี 2378  ดาร์วินด้วยวัยเพียง 26 ปี ก็ก้าวขาลงจากเรือหลวงบีเกิล (HMS Beagle) เพื่อขึ้นสู่ หมู่เกาะกาลาปากอส (Galapagos Islands) อยู่ในมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันออก ตั้งอยู่ 600 ไมล์ (970 กิโลเมตร) ไปทางทิศตะวันตกของชายฝั่งประเทศเอกวาดอร์ ห่างออกไปประมาณ 970 กิโลเมตร อยู่ใต้เส้นศูนย์สูตร ประกอบด้วยเกาะใหญ่น้อยมากมาย เกิดจากภูเขาไฟขนาดยักษ์ มีอายุนับล้านปี บางปล่องก็เป็นภูเขาไฟที่ดับแล้ว บาปล่องก็ยังปะทุบ้างเป็นครั้งคราว




ภาพ Map of the Galapagos
ที่มา pictures.solardestinations.com

       กาลาปากอส มาจากคำว่า galapago ซึ่งเป็นภาษาสเปนหมายถึง เต่าบก (tortoise) ซึ่งก็คือสัตว์ที่พบห็นได้มากบนเกาะนี้ หมูเกาะกาลาปากอสมีเกาะน้อยใหญ่หลายเกาะเรียงรายกันในมหาสมุทรแปซิฟิก ประกอบด้วยเกาะหลักๆ 13 เกาะได้แก่ เกาะเฟอร์นาดินา (Fernandina Island), เกาะอิซาเบลา (Isabela Island), เกาะพินซอน (Pinzón Island), เกาะซานติเอโก (Santiago Island), เกาะราบิดา (Rábida Island), เกาะซานตาครูซ (Santa Cruz Island), เกาะซานตาเฟ (Santa Fe Island), เกาะฟลอเรียนา (Floreana Island), เกาะเอสปาโนลา (Española Island), เกาะซานคริสโตบัล (San Cristóbal Island), เกาะเจโนเวซา (Genovesa Island), เกาะมาร์เคนา (Marchena Island), เกาะพินตา (Pinta Island)

       เกาะกาลาปากอสนั้นมีสภาพโดยทั่วไปแห้งแล้งและกันดาร เป็นที่ที่กระแสน้ำเย็นไหลมาพบกับกระแสน้ำอุ่น จึงทำให้สามารถพบสิ่งมีชีวิตได้ทั้งประเภทที่ชอบน้ำเย็น เช่น สิงโตทะเลและเพ็นกวิน รวมทั้งสัตว์ที่ชอบน้ำอุ่นก็หาได้บนเกาะนี้อีกเช่นกัน ที่นี่จึงเป็นแหล่งรวมพันธุ์พืชและสัตว์จำนวนมากหลากหลายสปีชีส์  มีสายพันธุ์สิ่งมีชีวิตแปลกๆ แทบจะไม่สามารถพบได้ที่ไหนในโลก ทั้งแบบที่เชื่องน่ารัก และมองดูดร้ายน่ากลัว  อาทิ เต่ากระดอง (Galapagos Tortoise) ที่มีน้ำหนักมากถึง 200-500 ปอนด์  กิ่งก่า (iguana) สิงโตทะเล (Galapagos Sea-lion)นกนานาชนิด โดยเฉพาะนกฟินซ์


ภาพ Giant Galapagos tortoises
ที่มา progresoverde.org
 ภาพ Galapagos Marine Iguana
ที่มา worldtimezone.com

        ความ “พิเศษ” ของสิ่งมีชีวิตที่กาลาปากลอสทำให้ ดาร์วินรู้สึกตื่นเต้นมากที่ได้เห็น ดาร์วินพบว่ามีนกสปีชีส์เดียวกันแม้ว่ามันจะมีต้นกำเนิดจากแหล่งเดียวกันก็ตาม แต่มันกลับมีลักษณะที่แตกต่างกันไปเล็กน้อย นกฟินช์(finch) ชนิดหนึ่งบนกาลาปากอส ที่ดาร์วินเคยสนใจศึกษาเป็นพิเศษ เขาได้แบ่งว่าเจ้านกชนิดนี้มีความแตกต่างกันไปในแต่ละเกาะถึง 13 แบบ ซึ่งสิ่งที่ทำให้พวกมันแตกต่างกันนั้น ก็ผันแปรไปตามสิ่งแวดล้อมบริเวณที่นกพวกนั้นอาศัยอยู่ อย่างรูปทรงของจงอยปากที่แตกต่างกันในนกสปีชีส์เดียวกัน ที่เป็นผลมาจากเมล็ดพืช ที่เป็นอาหารของนกที่อยู่บนแต่ละเกาะ



ภาพ Finches from the Galapagos
ที่มา www.dls.ym.edu.tw

       ดาร์วินจึงได้ข้อสรุปซึ่งนับเป็นการนำไปสู่การอธิบายทฤษฎีวิวัฒนาการ ว่า ในอดีตกาลเมื่อบรรพบุรุษของนกได้มาจากทวีปอเมริกาใต้ แล้วมาแพร่พันธ์ยังเกาะต่างๆของหมู่เกาะกาลาปากอส ซึ่งมีสภาพแวดล้อมแตกต่างกัน นกชนิดใดที่สามารถปรับตัวให้อยู่รอดในสภาพแวดล้อมได้ มันก็จะอยู่รอด สามารถแพร่พันธุ์ต่อไปได้ มันจะค่อยเกิดกลายกลายพันธุ์จากรุ่นสู่รุ่นอย่างช้าๆ แบบที่เรียกว่า“กลายพันธุ์” และเมื่อการกลายพันธุ์ที่ว่านี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องยั่งยืนมันก็จะกลายเป็นวิวัฒนาการที่เรียกว่า “การปรับตัวสืบทอด (descent with modification)” ส่วนตัวใดที่ไม่สามารถปรับตัวได้ มันก็จะค่อยๆหายไป และสูญพันธุ์ลงในที่สุด ซึ่งกลไกที่คอยคัดสรรว่าสัตว์ใดจะอยู่ สัตว์ใดจะไป นั้นก็คือสิ่งที่ดาร์วินเรียกว่า “การคัดเลือกตามธรรมชาติ (natural selection)” นั่นเอง

       ความแตกต่างได้แฝงตัวอยู่ในสิ่งมีชีวิต ทำให้พวกมันสามารถปรับตัวและแพร่พันธุ์สืบทอดสู่รุ่นต่อๆไป ซึ่งกุญแจสำคัญที่ทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมีความแตกต่างกันก็คือ สภาพแวดล้อมที่ต่างกันนั่นเอง  หรือที่จะกล่าวว่า "สภาพแวดล้อมไม่ใช่สิ่งที่ทำให้เกิดการผันแปรของสิ่งมีชีวิต หากแต่ความผันแปรเหล่านั้นมีอยู่ในทุกชีวิตอยู่แล้ว ธรรมชาติจึงทำหน้าที่เป็นเพียงผู้คัดสรร"

       ดาร์วินได้ใช้เวลาเพื่อรวบรวมหลักฐานต่างๆและศึกษาเพิ่มเติมเพื่อสนับสนุนทฤษฎีวิวัฒนาการที่เขาค้นพบยาวนานถึง 20 ปีต่อมาในอังกฤษ จนกระทั่งได้เสนอแนวคิดทฤษฎี “วิวัฒนาการ” ออกมาเป็นหนังสือที่มีชื่อว่า "On the Origin of the Species" ตีพิมพ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในวันที่ 24 พฤษภาคม ค.ศ. 1859 เพื่อเผยแพร่ออกสู่แวดวงวิชาการของประเทศยุโรปและอเมริกา เนื้อหาในเล่มได้อธิบายถึงเเนวคิดที่เกี่ยวของกับวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และการคัดสรรโดยธรรมชาติว่า ทำไมสิ่งมีชีวิตหนึ่งจึงอยู่รอด แต่อีกชนิดกลับสูญพันธ์ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงผลจากสิ่งแวดล้อมว่ามีอิทธิพลทำให้สิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องปรับสภาพเปลี่ยนแปลง โครงสร้าง ทางร่างกายและพฤติกรรมจากรูปแบบหนึ่งมาสู่รูปแบบหนึ่งในระยะเวลาอันยาวนาน เพื่อให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตในธรรมชาติ ตามที่ดาร์วินเรียกว่า "การคัดเลือกโดยธรรมชาติ (Natural Selection)"  นี่ถ้าดาร์วินมีอายุยืนยาวพออีกสักศตวรรษ เขาก็จะได้รู้จักกับดีเอ็นเอ สิ่งที่จะเฉลยเรื่องราวเหล่านี้ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น


ภาพ On the Origin of Species
ที่มา scienceblogs.com

        และหนังสืออีกเล่มที่โด่งดังไม่แพ้กันก็คือ " The Descent of Man " ที่ตีพิมพ์ครั้งแรกในปี 2414 ในเล่มนี้ดาร์วินได้นำทฤษฎีวิวัฒนาการมาใช้อธิบายเกี่ยวกับมนุษย์ว่า เผ่าพันธุ์มนุษย์และลิงไม่มีหาง (ape) มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษร่วมกัน นั้นคือมนุษย์เป็นเพียงสัตว์สปีชีส์หนึ่งเท่านั้น หาใช่สิ่งมีชีวิตอันพิเศษที่เกิดจากการสร้างสรรค์ของพระเจ้า



ภาพ the descent of man
ที่มา knowfree.net

       และแน่นอนว่าแม้ทฤษฎีนี้จะพลิกมุมคิดวงการชีวะวิทยาอย่างมาก แต่ในยุคนั้นมันช่างขัดกับความเชื่อและศรัทธาของผู้คนส่วนใหญ่ ที่เชื่อกันว่า “พระเจ้าคือผู้สร้างนกทั้ง 13 ชนิดให้แตกต่างกัน ไม่กี่ยวกับเรื่องของวิวัฒนาการใดๆเลยที่จะที่ทำให้จงอยปากของพวกนกหล่านั้นแตกต่างกัน” จึงไม่แปลกที่แนวคิดทฤษฎีวิวัฒนาการ และการคัดเลือกตามธรรมชาติของดาร์วินจะถูกต่อต้านอย่างหนักว่าเป็นความคิดนอกรีต แต่ในวันนี้เมื่อวิทยาศาสตร์ได้พิสูจน์ทฤษฎีของดาร์วินแล้ว เขาจึงได้รับการยกย่องให้เป็น บิดาแห่งทฤษฎีของวิวัฒนาการ

       หมู่เกาะกาลาปากอส ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก จากองค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) เมื่อปี พ.ศ. 2521 ด้วยจุดเด่นคือ ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตที่แปลกตาและสวยงามมากมาย มีความหลากหลายทางชีวภาพสูง ซึ่งส่วนใหญ่ยังเป็นสปีชีส์ที่หากใครอยากเจอต้องมาที่หมู่เกาะกาลาปากอสเท่านั้น เช่น


ภาพ blue-footed booby, Galapagos
ที่มา www.birdsasart.com


ภาพ Galapagos Sea-lion with Bonita-Mackerel, Galapagos
ที่มา www.birdsasart.com

       นอกจากนี้บนเกาะยังมีทะเลสาบที่ชื่อดาร์วินเพื่อระลึกถึง ชาร์ล ดาร์วิน และมีสถานีวิจัยและอนุรักษ์เต่าและอีกัวน่า ซึ่งอีกัวนาที่หมู่เกาะกาลาปากอสนี้มีความหลากหลายมาก โดยหลักๆ แบ่งเป็นอีกัวนาบก และอีกัวนาทะเล

       แต่ปัจจุบันกาลาปากอสกำลังถูกคุกคาม สภาพแวดล้อมเสื่อมโทรมลงอย่างหนักจากการบุกรุกของมนุษย์นั้นเองโดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยว แม้ซีดีเอฟและอุทยานแห่งชาติกาลาปากอส (Galapagos National Park) จะพยายามจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นแล้วก็ตาม แต่ในที่สุด เมื่อเดือน มิ.ย. 2550 ยูเนสโกได้ประกาศ ขึ้นบัญชีหมู่เกาะกาลาปากอสให้เป็นมรดกโลกที่กำลังถูกคุกคาม  


ภาพ Galapagos Islands tour
ที่มา travelwizard.com

        แม้การปรับตัวของสิ่งมีชีวิตจะทำให้พวกมันถูกธรรมชาติคัดสรรค์ให้อยู่รอดได้ แต่ดูเหมือนเมื่อต้องเผชิญกับภัยคุกคามจากมนุษย์ การปรับตัวตามธรรมชาติคงไม่อาจทำให้พวกมัดอยู่รอดไดhfuเท่าไหร่นัก หรือมนุษย์นอกจากจะครองโลกแล้วยังจะเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่จะอยู่บนโลกนี้

ที่มาของข้อมูล  http://www.vcharkarn.com/varticle/39371

วิวัฒนาการของมนุษย์

          วิวัฒนาการ ในความหมายทั่วไป หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจากสภาพหนึ่งไปสู่อีกสภาพหนึ่ง  ในลักษณะจองการค่อยเป็นค่อยไปตามลำดับขึ้นโดยอาศัยระยะเวลาอันยาวนาน  วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตจึงหมายถึงการเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจากสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมสืบต่อกันมาจนกลายเป็นสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน  ที่แตกต่างจากสิ่งมีชีวิตดั้งเดิมอันเป็นผลจากพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม  ดอบซานสกี (Dobzhansky)  นักพันธุศาสตร์และวิวัฒนาการชาวรัสเซีย ได้กล่าวไว้ดังนี้  “วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต  คือกระบวนการเปลี่ยนแปลง
ส่วนประกอบของพันธุกรรมของประชากรที่เกิดขึ้นต่อเนื่องกัน  โดยการเปลี่ยนแปลงนี้อาจเกิดขึ้นเพียงบางส่วนหรือทั้งหมดอันเป็นผล มาจากปฏิกิริยาที่สิ่งมีชีวิตมีการปรับตัวให้เหมาะสมกับสิ่งแวดล้อม  กระบวนการนี้เมื่อเกิดขึ้นแล้วจะไม่มีกาย้อนกลับเป็นอย่างเดิมอีก”




วิวัฒนาการของมนุษย์(evolution)

             เมื่อประมาณ 20 ล้านปีที่ผ่านมา  เกิดการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม  โดยมีทุ้งหญ้าขึ้นมาทดแทนป่าที่อุดมสมบูรณ์   ทำให้สิ่งมีชีวิตหลายชนิด  มีวิวัฒนาการมาดำรงชีวิตบนพื้นดินมากขึ้น  จากหลักการซากดึกดำบรรพ์และการเปรีบยเทียบลำดับเบสบน DNA ระหว่างมนุษย์และชิมแปนซี  พบว่ามนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากลิงไม่มีหางเมื่อประมาณ 7-5 ล้านปีที่ผ่านมา                                                                                                                              
          ตามการจำแนกแบบอนุกรมวิธาน นักชีววิทยาได้จัดให้มนุษย์อยู่ในหมวดหมู่ต่อไปนี้
 Kingdom           Animalia
 Phylum  Chordata 
 Class  Mammalia 
 Order  Primate 
 Family  Hominidae 
 Genus  Homo 
 Spicies  Homo  sapiens 

           
            จากหลักฐานซากดึกดำบรรพ์  นักบรรพชีวินได้คาดคะเนลำดับขั้นตอนการสืบสายวิวัฒนาการของมนุษย์ได้  ดังนี้




           ออร์เดอร์ ไพรเมต (Primate)เป็นออร์เดอร์หนึ่งในจำนวนทั้งหมด 17 ออร์เดอร์ในคลาสแมมมาเลียการจำแนกสัตว์อยู่ในออร์เดอร์นี้ขึ้นอยู่กับลักษณะหลายๆลักษณะมารวมกันซึ่งเป็นลักษณะที่เป็นผลมาจากวิวัฒนาการของสัตว์พวกนี้ในการอาศัยอยู่บนต้นไม้ ทำให้มีลักษณะมือขาและการใช้ประสาทรับความรู้สึกต่างๆให้เข้ากับการดำรงชีวิตในสิ่งเเวดล้อมดังกล่าวแต่มีวิวัฒนาการของบางลักษณะที่เป็นผลจากวิวัฒนาการในช่วงหลังๆที่เป็นไปเพื่อการดำรงชีวิตอยูบนพื้นดิน  ลักษณะของออร์เดอร์ไพรเมต คือมีนิ้ว 5 นิ้ว ปลายนิ้วมีเล็บแบน นิ้วยาว นิ้วหัวแม่มือพับขวางกับนิ้วอื่นได้ดี สมองใหญ่ จมูกสั้น ตาชิดกัน (ทำให้สามารถมองภาพจากสองตามาซ้อนกันเกิดเป็นภาพสามมิติซึ่งดีต่อการดำรงชีวิตอยู่บนต้นไม้)ขากรรไกรห้อยต่ำในออร์เดอร์ไพรเมตมีสมาชิกทั้งหมด 180 สปีชีส์ที่ยังมีชีวิตอยู่ในโลก ได้เเก่ มนุษย์ ลิงลม ลิงทาเซียร์ ลิงแสม ลิงมาโมเซต กอริลลา ชิมแพนซี และอุรังอุตัง

            ลักษณะสำคัญของแฟมิลีโฮมินิดี(Hominidae) คือมีเขี้ยวเล็กและอยู่ในระดับเดียวกับฟันอื่นๆ เดิน 2 ขา เนื่องจากเปลี่ยนวิถีชีวิตจากบนต้นไม้มาสู่พื้นดิน แต่ก่อนเคยคิดว่าประกอบด้วย  จีนัสคือ รามาพิเทคัส
  มนุษย์วานร มีรูปร่างค่อนข้างเล็ก สูงประมาณ1 - 1.5 เมตร และหนักประมาณ 68 กิโลกรัม มีโครงกระดูกที่แข็งแรง และรูปแบบของฟันคล้ายมนุษย์ในปัจจุบัน บริเวณลำคัว อาจไมีมีขน ขณะวิ่งลำตัวจะตั้งตรง อยู่กันเป็นกลุ่ม20-30 คน สามารถใช้หินหรือ เครื่องมือง่ายๆ เช่น กระดูกบสัตว์ สำหรับล่าสัตว์ชนิดต่างๆ เป็นอาหารได้ นักวิทยาศาสตร ์ได้ ้ขุดพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ พวกนี้ที่บริเวณตอนใต้และตะวันออกของทวีปแอฟริกา จึงให้ชื่อว่า Australpithecus africanus ต่อมาจึงพบมนุษย์วานรพวกนี้อีก มีรูปร่างและขนาดใหญ่กว่าA.africanus จึงเรียกว่า A.robustus มนุษย์วานรชนิดนี้มีขากรรไกรขนาดใหญ่เทอะทะแสดงให้เห็นว่ากินพืชเป็นอาหาร จนกระทั่ง ค.ศ.1947Donald   Joanson ก็ได้ค้นพบมนุษย์วานรพวกนี้อีกชนิดหนึ่งบริเวณทางตินเหนือของประเทศเอธิโอเปีย
มีชื่อเรียกว่า A.afarensis ซึ่งถือว่ามี ความใกล้ชิดกับบรรพบุรุษของมนุษย์ในปัจจุบันมาก  Genus Homoเป็นไพรเมตที่สามารถประดิษฐ์เครื่องมือเพื่อนำมาใช้ในการดำรงชีวิตได้แล้วถือว่าเป็นกลุ่มที่มีวิวัฒนาการสูงที่สุด ได้แก่ มนุษย์ในปัจจุบัน ซึ่งมีสายวิวัฒนาการมาจากวานร แล้วเปลี่ยนแปลงมาเป็นลำดับ ดังนี้

                1)Homo habilis เชื่อว่าเป็นบรรพบุรุษของมุษย์ ในปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ชนิดนี้ที่บริเวณภาค ตะวันออกของแอฟริกา มีอายุประมาณ 2-4 ล้านปี มีขนาดสมองประมาร 800 ลูกบาศก์เซนตเมตร และมีฟันที่แสดงให้เห็นว่ากินเนื้อสัตว์ เป็นอาหารด้วย จึงจัดเป็นผู้บริโภคทั้งพืชและสัตว์ นักวิทยาศาสตร์ เชื่อว่า มนุษย์ ชนิดนี้อาจจะยังมีขนแบบลิงอยู่แต่อย่างไรก็ตาม พบว่ามนุษย์ชนิดนี้เป็นมนุษย์พวกแรกที่รู้จักการใช้หินมาประดิษฐ์เป็นเครื่องมือหรือเครืองใช้ในการดำรงชีวิตได้ 

                2)Homo  erectus เป็นมนุษย์ที่มีใบหน้าตั้งตรงเหมือนมนุษย์ยุคใหม่แล้ว มีขากรรไกรและฟันที่แข็งแรง โดยขากรรไกรจะเริ่มหดสั้นกว่า  Homo habilis ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับรูหู มีขนาดสมองประมา1000 ลูกบาศก์เซนติเมตร เชื่อกันว่ามนุษย์ชนิดนี้ไม่มีขนแบบลิงแล้ว และมีการกระจายตั้งแต่แอฟริกาจนถึงเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และยุโรป มนุษย์ยุคนี้เริ่มรู้จักการใช้ไฟ และประดิษฐ์ เครื่องมือต่างๆ จากก้อนหินได้ดีขึ้น นักวิทยาศาสตร์จึงจัดให้เป็นมนุษย์แรกเริ่ม(Early  man) ที่รู้จักกันดีก็คือมนุษย์ชวา (Java ape man)และมนุษย์ปักกิ่ง(Peking man) สำหรับมนุษย์ปักกิ่งนั้นถูกค้นพบซากอยู่ที่ถ้ำ จูกูเทียน(Zhoukoudian)ทางตอนเหนือของประเทศจีน ทำให้ทราบว่ามนุษย์ยุคนี้รู้จักการใช้ไฟ มีการล่าสัตว์โดยใช้ขวานหิน และในบางครั้งมนุษย์ปักกิ่งเป็นพวกที่กินเนื้อมนุษย์พวกเดียวกันอีกด้วย
                3).Homo sapiens neanderthalensis  หรือ มนนุษย์ดีแอนเดอร์ทัล  เป็นมนุษย์ที่พบว่ามีชีวิตอยู่ในช่วงทีน้ำส่วนใหญ่ของโลกกลายเป็นน้ำแข็งโดยซากดึกดำบรรพ์ที่พบมีอายุประมาณ 1 แสน ถึง 1 ล้านปี มีขนาดสมองประมาณ 1450 ลูกบาศก์เซนติเมตร ส่วนของกะโหลกซึ่งกว้างที่สุดอยู่ที่ระดับเหนือรูหู มีขากรรไกรล่างสั้นลักษณะหน้าผากเป็นสันนูนและลาดกว่ามนุษย์ในปัจจุบันสามารถยืนโดยลำตัวตั้งตรงรู้จักการใช้ไฟ การล่าสัตว์ รูจักประดิษฐ์เครื่องมือต่างๆโดยใช้หินคนที่ตายแล้วจะถูกนำไปฝังพร้อมกับช่อดอกไม้ อาหาร และอาวุธ มนุษย์พวกนี้รู้จักการหาที่อยู ่ อาศัยทั้งในถ้ำ หุบเขา หรือที่ราบ พบกระจายในบริเวณต่างๆกว้างขวางมากตั้งแต่ยุโรปตะวันออกกลาง แอฟริกา ไปจนถึงประเทศจีน

                4).Homo  sapiens  sapiens หรือ มนุษย์โครมายอง(Cro - Magnon man) มีรูปร่างลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบัน กล่าวคือ มีกะโหลกศีรษะโค้งมน มากขึ้น ขากรรไกรหดสั้นลงกว่ามนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลมาก และแก้มนูนเด่นชัดขึ้น แม้ว่ามนุษย์ ชนิดนี้จะมีใบหน้าเล็กแต่ก็มีสมองขนาดใหญ่ประมาณ 1300-1500 ลูกบาศก์เซนติเมตรซึ ่งมีความเฉลียวฉลาดสามารถประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆสำหรับดำรงชีพและรู้จักการเขียนภาพต่างๆด้วยจากการศึกษาพบว่ามนุษย์โครมายองมีชีวิตอยู่ใน ช่วงประมาณ 50000 ปีมาแล้ว


        จากการศึกษา การกระจายของมนุษย์ในอดีต พบว่ามนุษย์วานร พวก Australopihecus sp.อาศัยอยู่ในแถบเอธิโอเปีย ทนวาเนีย และเคนยา ซึ่งเป็นแถบตะวันออกของทวีปแอฟริกา ส่วนพวกมนุษย์ที่แท้จริงพวกแรกๆ คือ Homo habilis และ Homo erectus พบว่ามีการกระจายเป็นบร ิเวณกว้างกว่า กล่าวคือ พบทั้งในแถบตะวันออกและทางใต้ของทวีปแอฟริกา ยุโรป จีน และอินดดนีเซีย สำหรับมนุษย์นีแอนด์เดอร์ทัลนั้นพบซากดึกดำบรรพ์ค่อนข้างมากในทวีปยุโรปเมื่อศึกษาเปรียบเทียบกะโหลกของไพรเมตตั้งแต่ยุคแรกๆจนกระทั่งถึงมนุษย์ในยุคปัจจุบัน ก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างลักษณ ะต่างๆ หลายประการ เช่นรูปทรง ลักษณะขนาดและสัดส่วนต่างๆของกะโหลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความยาว และขนาดของขากรรไกร ลักษณะของหน้าผาก และรูปแบบการ จัดเรียงตัวของฟัน เป็นต้น ซึ่งแสดงให้เห็นว่า สายวิวัฒนาการต่อเนื่องกันเป็นลำดับ
             การศึกษาเรื่องราววิวัฒนาการของมนุษย์เป็นเวลายาวนานทำให้มนุษย์วิทยาอธิบายถึงความเกี่ยวโยงกันของบรรพบุรุษมนุษย์ในอดีตเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบันได้ โดยเชื่อกันว่าในช่วงเวลาประมาณ 15 ล้านปีมาแล้วนั้นมีการเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกจนเกิดเป็นRamapithecusซึ่งเป็นมนุษย์วานรยุคแรกๆที่เป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างไพรเมตกับบรรพบุรุษของมนุษย์ในเวลาต่อมามนุษย์วานรพวกนี้อาศัยอยู่ในที่โล่งแจ้งหรือตามชายป่า  กินพืช  ผัก  ผลไม้เป็นอาหารยังมีพฤติกรรมคล้ายลิงไม่มีหางอยู่มาก ต่อมาจึงวิวัฒนาการเป็นพวกAustralpithecus  ชนิดต่างๆซึ่งมีชีวิตอยู่ในช่วงประามาณ 5 ล้านปีมาแล้วมนุษย์วานรพวกนี้เริ่มเดินด้วยลำตัวที่ตั้งตรงได้ดีขึ้นช่งวยให้มองเห็นผู้ล่าแ ละเหยื่อได้อย่างมีประสิธิภาพ แต่ยังมีลักษณะโบราณอยู่คือมีขากรรไกรขนาดใหญ่ หน้าผากลาดไปด้านหลัง ขนาดสมองยังเล็กเมื่อเทียบกับใบหน้าขนาดใหญ่ พวกเขาสามารถล่าสัตว์กินเป็นอาหาร ซึ่งนับเป็นจุดหักเหสำคั ที่มนุษย์วานรเปลี่ยนแปลงจากการกินพืชผักมาเป็นกินเนื้อสัตว์ด้วย ต่อมาประมาณ 2 ล้านปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของบรรพบุรุษของมนุษย์ คือ Homo habilsซึ่งรู้จักการตั้งถิ่นฐานมากขึ้นกว่าเดิม ในขณะที่เพศชายออกล่าอาหารเพศหญิงก็ดูแลลูกอ่อน รักษาผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือออกหาผลไม้ มนุษย์ยุคนี้เริ่มมีความผูกพันธ์ต่อกันเป็นสังคม  เริ่มต้นที่มีการเลือกคู่ไม่สมสู่กันเหมือนไพรเมตชนิดอื่นๆ  เมื่อมาถึงยุคของ Homoerectus  ซึ่งถือว่าเป็นมนุษย์แรกเรื่มนั้น วิวัฒนาการขยองมนุษย์ก้าวไปมากขึ้น รู้จักการใช้ไฟ เพื่อสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เนื่องจากสภาพอากาศที่หนาวเย็นในยุคนั้นรู้จักการใช้หอกไม้ในการล่าสัตว์ใหญ่ๆเช่น กวาง ม้า รู้จักการหุงต้มอาหารให้สุก รู้จักการใช้หนังสัตว์ เป็นเครื่องนุ่งห่ม จนกระทั่งเมื่อ 3 แสนปีที่ผ่านมาจนถึงยุคของมนุษย์ยุคใหม่ คือ  Homo sapiens ซึ่งได้พัฒนารูปแบบสมองใหมีขนาดใหญ่ขึ้น แม้จะมีใบหน้าเล็กก็ตาม ส่วนของขากรรไกรสั้นลง หน้าผากเกือบตั้งตรง  ทำให้รูปโฉมใบหน้าเปลี่ยนไปจากเดิม นอกจากนี้ยังสามารถทรงตัว และเคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขาในขณะที่ลำตัวตั้งตรงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 สำหรับมนุษย์ในปัจจุบันนั้น นักมนุษยวิทยาพบว่า มีลักษณะพิเศษที่แตกต่างจากมนุษย์ในอดีตอยู่หลายประการ คือ
     1.ยืนตัวตรง เคลื่อนที่ด้วยขา 2 ขา ช่วงขายาวกว่าช่วงแขน
     2.หัวแม่มือสั้นและงอ พับเข้ามาที่อุ้งมือได้ สามารถงอนิ้วทั้ง 4 ได้ จึงใช้จับ ดึง ขว้าง ทุบ ฉีก แกะ และทำกิจกรรมต่างๆได้ รวมทั้งการออกแบประดิษฐ์เครื่องมือ เครื่องใช้ได้
     3.กระดูกคอต่อจากใต้ฐานหัวกะโหลก กระดูกสันหลังโค้งเล็กน้อย เป็นรูปตัว เอสและสมองมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับร่างกาย หน้าสั้นแบน หน้าผากค่อนข้างตั้งตรงขากรรไกรสั้น
     4.กระดูกสะโพกกว้าง ใหญ่และแบนให้กล้ามเนื้อเกาะเพื่อให้ลำตัวตั้งตรงเท้าแบนร่างกายไม่ค่อยมีขนแนวฟันโค้งเกือบเป็นรูปครึ่งวงกลม




    การศึกษาค้นคว้าเปรียบเทียบซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์ในอดีต    นอกจากทำให้นักมนุษยวิทยาทราบความเป็นมา ของบรรพรุษมนุษย์ในอดีตแล้ว  ยังทำให้สามารถอธิบายถึงความเป็นอยู่ และการดำลงชีวิตของมนุษย์ในแต่ละยุดได้อีกด้วย  คือ
      1.  การอยู่เยี่ยงเดรัจฉาน ( savagery ) เป็นยุดที่มนุษย์เพศชายยังทำหน้าที่ล่าสัตว์และแสวงหา พืช  ผัก ผลไม้เป็นอาหารตามธรรมชาติ  แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
           1.1  ระยะก่อนรู้จักใช้ไฟและภาษา  ตรงกับยุดหินเช่นเก่า  ( Eolithic )  พบในมนุษย์พวก Homo  habilis
           1.2  ระยะรู้จักใช้ไฟและภาษา   ตรงกับเก่าเช่นกัน  มนุษย์พวกนี้รู้จักใช้ถํ้าเป็นที่อยู่  อาศัย  ได้แก่  พวกมนุษย์  Homo   erectus  ซึ่งก็คือ มนุษย์ชวาและ
มนุษย์ปักกิ่ง นั้นเอง
           1.3  ระยะรู้จักประดิษฐ์ธนูและลูกศร  ตรงกับยุดหินกลาง มนุษย์พวกนี้รู้จักการใช้หนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่มได้แก่ มนุษย์Homo  sapiens
      2.การอยู่อย่างป่าเถื่อน(Babarism)เป็นบยุคที่มนุษย์รู้จักการใช้โลหะทำเครื่องมือ ทำการเกษตรกรรม  ทอผ้า  สังคมในยุคนี้มีระบบทาส  เพศชายมีภรรยาได้
หลายคน   และทำหน้าที่ปกครอง  ส่วนเพศหญิงทำหน้าที่เป็นแม่บ้านแบ่งเป็น 3 ระยะคือ
           2.1ระยะแรกประมาณ 12000 ปีมาแล้ว ยุคนี้มนุษย์รู้จักการปลูกบ้านสร้างเรือนเพื่ออยู่อาศัย รู้จักใช้ขวานมีด้ามและใช้เครื่องปั้นดินเผา
           2.2ระยะกลางประมาณ 10000 ปีมาแล้วมนุษย์ยุคนี้รู้จักการเลี้ยงสัตง์การเกษตรกรรมรู้จักใช้สัตว์ช่วยในการไถนาหรือบรรทุกสิ่งของ
           2.3ระยะหลังประมาณ 7000ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักใช้โลหะทำอาวุธหรือเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ
      3.การอยู่อย่างมีอารยธรรม(Civilization)เป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการประดิษฐ์เครื่องทุ่นแรง มีการใช้ตัวอักษรในการสื่อความหมาย สังคมเปลี่ยนจากเกษตรกรรม
เป็นอุตสาหกรรม
                ผลจากการวิวัฒนาการในยช่วงเวลายาวนาน ทำให้มนุษย์ในปัจจุบันมีรูปร่างหน้าตาแตกต่างกันไปหลายแบบ ทั้งในแง่ของเส้นผม รูปร่าง ใบหน้า ความสูง รูปทรงศีรษะ หรือแม้กระทั่งสีผิว ทั้งๆที่ต่างก็เป็นสปีชีส์เดียวกัน มานุษยวิทยามีความเชื่อว่าในอดีตนั้นมนุษย์มีผิวสีเข้มเพียงสีเดียวเนื่องจากไม่มีขนหนาๆปกคลุมร่างกายเหมือนไพรเมตอื่นๆ จึงต้องมีผิวสีเข้ม เพื่อป้องกันอันตรายจากรังสีอัลตราไวโอเลตจากดวงอาทิคตย์ ต่อมาเมื่อมนุษย์มรการกระจายพันธ์ไปยังบริเวณต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะในบริเวณที่มีสภาพภูมิอากาศอบอุ่นหรือเขตหนาวซึ่งได้รับแสงอาทิตย์น้อยกว่าเขตร้อนมากมนุษย์จึงมีการปรับตัวที่ละน้อยๆกลายเป็นมนุษย์ที่มีสีผิวแตกต่างกัน
       1.เผ่าคอเคซอยด์(Caucasoid)มีหนวดเคราและขนตามตัวดก จมูกโด่ง มีสีผิวอ่อน ได้แก่มนุษย์ที่อาศัยในแถบยุโรปและชาวอาหรับ
       2.เผ่ามองโกลอยด์(Mongoloid)มีหนวดเคราและขนตามตัวน้อย จมูกแฟบ โหนกแก้มสูง ตาชั้นเดียว มีผิวสีเห,ืองหรือสีน้ำตาล ได้แก่ มนุษย์แถบเอเชีย
และชาวเอสกิโม
       3.เผ่านีกรอยด์(Negroid)มีผมหยิก ผิวดำ จมูกแฟบ ริมฝีปากหนา ได้แก่พวกปิกมี ZPigme)หรือพวกที่อยู่ทางใต้ทะเลทรายซาฮารา
       4.เผ่าออสเตรลอยด์(Australoid)มีขนและเคราดำ ผมหยิก ผิวดำ ได้แก่ชนพื้นเมืองของออสเตรเลีย และหมู่เกาะฟิลิปปินส์
          
              จะเห็นได้ว่าวิวัฒนาการของมนุษย์นั้นไม่หยุดนิ่ง มนุษย์รู้จักใช้เหตุผลเพื่อปรับปรุงการดำรงชีพให้เหมาะสม สามารถสร้างเครื่องมือนานาชนิดในการดำรงชีพมนุษย์รู้จักคิดและใช้ปัญยาในการเรียนรู้ด้วยประสบการณ์โดยอาศัยปัญหาในอดีตเป็นแนวทางเพื่ออนาคต   รู้จักริเริ่มการมีภาษาพูด   ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนาและจริยธรรมเมื่อรวมกลุ่มเป็นสังคมก็มีวัฒนธรรมแตกต่างกันไป ตามแต่ละท้องถิ่นวสืบทอด หลายบชั่วอายุตลอดมา    มีความสามารถในการติดต่อสื่อสารระหว่างกัน


 นักวิทยาศาสตร์ ชื่อ ทีดอบฮานสกี(T. Dobhansky)ได้ให้ความเห็นว่ามนุษย์ ยังมีวิวัฒนาการอยู่ แต่ในทางชีวภาพก็ยังไม่ทราบว่าจะเป็นวิวัฒนาการไปในทิศทางใด  นอกจากทางชีวภาพแล้ว มนุษย์ยังมีวิวัฒนาการในทาง วัฒนธรรมอีกด้วย นก ค้างคาว หรือแมลง กว่าจะวิวัฒนาการเป็นสัตว์ที่บินได้ต้องอาศัยเวลาปรับตัวทางยีนเป็นเวลานับล้านปี แต่มนุษย์ก็สามารถ บินได้เช่นกัน ดดยเครื่องบินชนิดต่างๆ โดยไม่ต้องสร้างยีนขึ้นมาใหม่ และยังมีความก้าวหน้าในการคิดค้นประดิษฐ์เคื่องมือเครื่องใช้มากมายหลายชนิด การวิวัฒนาการ ทางวัตถ ุต่างๆก็อาจมีผลทำให้เกิดวิวัฒนาการทางชีวภาพไปด้วย ผลของการวิวัฒนาการต่อไปในโอกาสข้างหน้าก็เป็นเรื่องที่อาจคาดคะเนได้แต่จะเป็นไปตามการคาดคะเน หรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องที่จะต้องติดตามกันต่อไปค่ะ
 
                                      *-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*-*
แหล่งอ้างอิง:
หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้พื้นฐานและเพิ่มเติม  ชีววิทยา เล่ม 5
http://www3.pantown.com/data/21821/board4/7520070829130301.jpg
http://www.geocities.com/anek04/evolution/image/human1.jpg
http://www.baanjomyut.com/library/human_evolution/index.html
http://eco-town.dpim.go.th/webdatas/HighMoon/03garbagekind.jpg


ประวัติของเมนเดล (Biography of Gregor Mendel)

บิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์



       เกรเกอร์ เมนเดล (พ.ศ. 2365-พ.ศ. 2427) บิดาทางพันธุศาสตร์ เกิดที่เมืองไฮน์เซนดรอฟ ประเทศออสเตรีย เป็นบุตรชายคนเดียวในจำนวนพี่น้อง 3 คน ของครอบครัวชาวนาที่ยากจน โดยต่อมา เมนเดลได้ไปบวชแล้วได้รับตำแหน่งรับผิดชอบดูแลสวน ในปี พ.ศ. 2390

ผลงานทางพันธุศาสตร์
        เกรเกอร์ เมนเดล เผชิญความผิดหวังนับ 20 ปี ที่เขายังคงสอนหนังสือเพื่อชดเชยความผิดหวัง เขาทำงานในสวนของวัดทุกเวลาที่ว่าง ที่นั่นมีพันธุ์พืชมากมาย แต่ละชนิดแตกต่างหลากหลายอย่าง ความแตกต่างนี้ ทำให้เกรเกอร์นึกสงสัย เขาได้ผสมพันธุ์ถั่วเดียว กันและต่างพันธุ์ เป็นจำนวนแตกต่างถึง 22 ชนิดของต้นถั่ว เพื่อศึกษาลักษณะทั้งหมด เป็นเวลารวม 8 ปีเต็มในการทดลองร่วมพันครั้ง พบได้ 3 สิ่ง ดังนี้

      •สิ่งแรก เมื่อผสมพันธุ์ถั่วชนิดต่างกันสองชนิดผลผลิตต่อมาที่ได้เป็นพันธุ์ชนิดเดียว ยกตัวอย่าง ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วเมล็ดสีเหลืองกับชนิดเมล็ดสีแดง มันจะผลิตพันธุ์เมล็ดสีเหลืองออกมา
      •ต่อไป เมื่อผสมพันธุ์ต่างชนิดกันของผลผลิตรุ่นแรก รุ่นต่อไปจะมีเมล็ดทั้งสองชนิด ในทุกๆสี่ต้นจะมีสามต้นที่มีเมล็ดสีเหลือง และ 1 ต้น ที่มีเมล็ดสีเขียว นี่เป็นเพราะว่าหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดสีเหลืองเป็นหน่วยถ่ายพันธุ์ที่ เด่น คือ โดมิแนนท์ยีน หน่วยถ่ายพันธุ์ที่ผลิตเมล็ดสีเขียวเรียกว่า รีเซสซีพยีน หรือหน่วยถ่ายพันธุ์ด้อย
      •สิ่งที่สาม ถ้าหากเขาผสมพันธุ์ถั่วต่างชนิดกันด้วยถั่วสองชนิด หรือมากกว่านั้นที่มีลักษณะแตกต่างกัน เขาจะค้นพบกฎข้อที่สาม สมมติว่าเขาผสมพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ดเรียบสีเหลืองกับพันธุ์ถั่วที่มีเมล็ด หยาบสีเขียว รุ่นแรกเมล็ดเรียบสีเหลืองจะเป็นตัวเด่น ในรุ่นต่อไปจะมีอัตราส่วนเมล็ดเรียบสีเหลือง 9 ส่วน ต่อเมล็ดเรียบสีเขียว 3ส่วน เมล็ดหยาบสีเหลือง 3 ส่วน ต่อเมล็ดหยาบสีเขียว 1 ส่วน



ที่มา science.rbru.ac.th/~winp/images/4032401_gen/03mendelian.pdf

หลังจากนั้น เมนเดลได้ส่งผลการทดลองนี้ไปยังสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งหนึ่ง แต่กลับไม่มีผู้ที่สนใจเลย เมนเดลก็ได้ทำการล้มล้างการตีพิมพ์งานของตน เขาเก็บรายงานนี้ไว้ที่ห้องสมุดและทำการทดลองต่อไปเงียบๆ จนกระทั่งถึงแก่กรรม ในปี พ.ศ. 2427

การวิพากษ์วิจารณ์

        จากข้อมูลดิบที่เมนเดลได้ตีพิมพ์นั้น ก่อนจะมาสรุปเป็นกฎได้นั้น ปัจจุบันมีผู้ตั้งข้อโตแย้งว่าตัวเลขที่ได้จากการทดลองของเมนเดลใกล้เคียง กับค่าทางทฤษฎีเกินไปจนเป็นที่น่าสงสัย ทั้งนี้อาจเกิดจากความบังเอิญหรือเป็นความจงใจของเมนเดลเองก็ได้
อย่างไรก็ตามการค้นพบของเมนเดลถือว่าเป็นการค้นพบยิ่งใหญ่ครั้งหนึ่งในวง การพันธุศาสตร์ เนื่องจากเมนเดลสามารถไขความลับการสืบทอดลักษณะทางพันธุกรรมต่างๆ จากบรรพบุรุษไปสู่ลูกหลานโดยที่ในสมัยนั้นยังไม่มีการค้นพบสารพันธุกรรม ดีเอ็นเอ ยีน หรือ โครโมโซมแต่อย่างใด


อ้างอิืง
•yalor.yru.ac.th/~dolah/notes/47-2-47/G-22-4/R_22-404753033.doc
•th.wikipedia.org/wiki/เกรเกอร์_เมนเดล
•www.vcharkarn.com/vcafe/127685
http://www.thaigoodview.com/library/contest2552/type2/science04/27/contents/genetics-0735.html

เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมพืช

      ปัจจุบัน “เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมพืช” เป็นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษณะตามต้องการ จากสมัยก่อนที่ใช้การผสมพันธุ์พืชแบบดั้งเดิม ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานหลายสิบปี กว่าจะได้พันธุ์ที่ต้องการ แต่หลังจากมนุษย์ค้นพบและศึกษาจนเข้าใจโครงสร้างและหน้าที่ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และยังค้นพบวิธีการถ่ายยีนเข้าสู่พืชได้ จึงสามารถสร้าง “พืชดัดแปลงพันธุกรรม” หรือ พืชจีเอ็ม (GM plant – Genetically Modified Plant) ได้สำเร็จ การปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีลักษณะตามที่ต้องการจึงทำได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
“พืชดัดแปลงพันธุกรรม” ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง จนสามารถจำหน่ายในเชิงการค้าครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ได้แก่ มะเขือเทศสุกช้า ซึ่งมีชื่อทางการค้าว่า มะเขือเทศเฟลเวอร์ เซเวอร์ จวบจนปัจจุบัน เทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมเพื่อดัดแปลงพันธุกรรมของพืช มุ่งเน้นไปลักษณะพิเศษต่างๆ ของพืชที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้จากการปรับปรุงพันธุ์แบบเดิมๆ โดยแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มใหญ่ คือ

      1.   พันธุวิศวกรรมธัญพืชและพืชดอก

  ยุค แรกของเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมพืช เกิดขึ้นในบริษัทเอกชนเป็นหลัก โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มผลผลิต ควบคุมคุณภาพ และพัฒนาสายพันธุ์ให้มีลักษณะใหม่ๆ เช่น การต้านทานแมลงศัตรูพืช การต้านทานไวรัสศัตรูพืช หรือการทนทานต่อยาฆ่าแมลง
ใน ระยะ 10 ปีที่ผ่านมา งานด้านพันธุวิศวกรรมพืชมุ่งเน้นการปรับปรุงคุณภาพผลผลิต เช่น การพัฒนาพันธุ์ข้าวญี่ปุ่น ให้เป็นข้าวทองหรือโกลเดนไรซ์ ซึ่งมีสารโปรวิตามินเอสูง โดยใช้ยีนจากดอกแดฟโฟดิลและแบคทีเรีย หลังจากนั้นมีการทำโกลเดนไรซ์ 2  ในข้าวสายพันธุ์อินดิคา โดยใช้ยีนจากข้าวโพด  ปัจจุบัน มีการทำข้าวสาลี ข้าวบาร์เลย์ กล้วย มันสำปะหลัง และมันเทศที่มีวิตามินเอ วิตามินอีและแร่เหล็กมากขึ้น เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนธาตุอาหารของประชากรในกลุ่มประเทศโลกที่สาม


        ใน ส่วนของไม้ดอกไม้ประดับซึ่งมีมูลค่าสูง มีการศึกษาวิถีและกลไกของการเปลี่ยนสีดอกในพืชหลายชนิด พืชต้นแบบที่ใช้ในการศึกษา คือ พิทูเนีย และสแนปดรากอน โดยมีบริษัทฟลอริยีน และบริษัท ซันทอรีของญี่ปุ่นเป็นผู้นำในการวิจัยด้านนี้ และประสบความสำเร็จในการทำคาร์เนชั่นและดอกกุหลาบให้เป็นสีน้ำเงิน



2.พันธุวิศวกรรมพืชพลังงาน

        พันธุ วิศวกรรมเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืชที่ผลิตสารให้พลังงาน เช่น ไบโอเอทานอล ไบโอดีเซล ไบโอก๊าซ ก๊าซไฮโดรเจน และไบโอโซลาเซลล์  เป็นความหวังใหม่ของการผลิตพลังงานทดแทน ซึ่งในระยหลัง ได้รับความสนใจอย่างมากจากนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลก โดยมีการพัฒนา 2 แนวทาง ได้แก่
       1.การผลิตพืชที่ใช้เป็นวัตถุดิบให้ได้จำนวนมากขึ้น โดยพัฒนาพันธุ์พืชให้มีประสิทธิภาพในการสังเคราะห์แสง ลดอัตราการใช้ปุ๋ยและน้ำ และทนต่อสภาพดินต่างๆ เพื่อให้ปลูกได้หลายที่
       2.การปรับปรุงพันธุ์พืชให้มีแป้งหรือน้ำตาลที่หมักได้ง่ายขึ้น เช่น การปรับปรุงพันธุ์ข้าวโพดให้มีแป้งที่หมักเป็นแอลกอฮอล์ได้ง่าย  ในขณะเดียวกันสามารถใช้พันธุวิศวกรรมปรับปรุงสายพันธุ์จุลินทรีย์ให้มี ประสิทธิภาพในการหมักน้ำตาลจากพืชให้เป็นแอลกอฮอล์ได้ดีขึ้น
สำหรับ ประเทศไทย ซึ่งมีพืชพลังงานอยู่หลายชนิด เช่น มะพร้าว ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง อ้อย และสบู่ดำ การใช้พันธุวิศวกรรมเพื่อการปรับปรุงพันธุ์พืชเหล่านี้จึงทำได้หลายแนวทาง เช่น กระตุ้นให้มีการเจริญเติบโตได้รวดเร็ว ให้ผลผลิตสูง ทนแล้ง ทนสภาพดินเค็ม หรือ ดินที่เป็นกรด-ด่างได้ดี เป็นต้น

3.พันธุวิศวกรรมพืชเวชกรรม

      พันธุ วิศวกรรมเพื่อผลิตพืชเวชกรรมกำลังมาแรง และมีแนวโน้มจะได้รับการยอมรับมากกว่าพืชอาหาร  ที่ผ่านมามีงานวิจัยในข้าวโพด ยาสูบ ข้าว และคาโนลา แต่เนื่องจากพืชเหล่านี้เป็นพืชอาหารด้วยซึ่งอาจมีข้อกังวลเกี่ยวกับการถ่าย ทอดยีนไปยังสายพันธุ์พืชที่ใช้เป็นอาหาร จึงมีการเสนอให้วิจัยในพืชอื่น เช่น อัลฟัลฟา แซฟฟลาเวอร์ ดั๊กหวีด และสาหร่าย การผลิตสารสำคัญทางการแพทย์ในพืชดัดแปลง
พันธุ กรรมมีข้อได้เปรียบหลายประการที่ทำให้เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เช่น ราคาถูกกว่าการผลิตในยีสต์หรือแบคทีเรีย ราว 10–100 เท่า ขยายขนาดได้ง่าย ปลอดภัย ง่ายต่อการสกัดและการนำสารมาใช้
ใน ปี พ.ศ. 2548 มีการผลิตยาสูบที่มีตัวยาสำหรับรักษาโรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยอื่นๆ เช่น การผลิตยีนภูมิคุ้มกันในน้ำนมคนให้อยู่ในน้ำนมข้าว การใช้ยีนจากหญิงที่เป็น หมัน ซึ่งมีฤทธิ์ทำลายสเปิร์มมาผลิตในข้าวโพด เพื่อทำยาคุมกำเนิดใส่ในถุงยางอนามัย หรือการพัฒนาให้ข้าวโพดผลิตวัคซีนไวรัสตับอักเสบ



4.พันธุวิศวกรรมพืชอุตสาหกรรม

        สำหรับ งานพันธุวิศวกรรมในอุตสาหกรรมสิ่งทอนั้น ขณะนี้นักวิทยาศาสตร์จีนได้พยายามทำฝ้ายดัดแปลงพันธุกรรมให้มีใยสีฟ้าสำหรับ ทำผ้ายีนส์ ซึ่งจะช่วยลดมลพิษจากกระบวนการย้อมสียีนส์     จนถึงปัจจุบันสามารถทำฝ้ายใยสีเขียวได้แล้ว  นอกจากนี้ยังศึกษากลไกการสร้างใยฝ้าย และการควบคุมยีนที่ผลิตโพลีเมอร์บางอย่างเพื่อทำให้เสื้อปราศจากรอยย่น ผสมเข้าไปเพื่อทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น หรือแม้กระทั่งในปี พ.ศ.2547 มีการศึกษาวิจัยในยาสูบให้สามารถสร้างโปรตีนของใยแมงมุมซึ่งมีความเหนียว เพื่อนำไปทำเสื้อกันกระสุน
ใน อุตสาหกรรมพลาสติกมีรายงานว่าสามารถทำให้ต้นยาสูบและต้นอะราบิดอบซิส สร้างเม็ดพลาสติกในเนื้อเยื่อของพืชได้ และในอเมริกามีการวิจัยดังกล่าวใน ข้าวโพดและคาโนลา แต่ปัญหาคือพืชบางชนิดไม่สามารถทนต่อการมีเม็ดพลาสติกภายในเซลล์ ทำให้พืชชะลอการเจริญเติบโต เช่น ยาสูบ ฝ้าย และป่าน แต่พบว่า ซูการ์บีท ข้าวโพด และคาโนลา ทนต่อการมีเม็ดพลาสติกภายในเซลล์ได้ ดังนั้นการเลือกชนิดของพืชจึงมีความสำคัญ สำหรับอุตสาหกรรมการทำกระดาษ ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่อยู่ที่การ  กำจัดลิกนิน นักวิทยาศาสตร์จึงพยายามตัดต่อยีนเพื่อลดปริมาณลิกนิน เช่น การทำยูคาลิปตัสที่มี    ลิกนินน้อยลง

5.พันธุวิศวกรรมพืชเพื่อสิ่งแวดล้อม

        นอก จากการผลิตพืชต้านทางแมลงศัตรูพืชเพื่อลดการใช้สารเคมีแล้ว  ยังมีการวิจัยเพื่อผลิตข้าวโพดและถั่วเหลืองที่มีฟอสฟอรัสสูงและไฟเททต่ำ เพื่อใช้เป็นอาหารของสุกร เป็ด และไก่ ช่วยให้เกษตรกรไม่ต้องซื้อฟอสฟอรัสมาเป็นอาหารเสริม และลดปริมาณไฟเททที่มักถูกปล่อยลงแหล่งน้ำพร้อมกับมูลสัตว์ ก่อให้เกิดมลภาวะทางน้ำ  นอกจากนี้ยังมีการสร้างพืชกำจัดสารพิษ ที่สามารถดูดสารพิษมากักเก็บไว้ หรือเปลี่ยนสารพิษให้อยู่ในรูปที่ไม่เป็นพิษหรือเป็นพิษน้อยก่อนที่ปล่อยสู่ สิ่งแวดล้อม เช่น เหมืองตะกั่วในรัฐโคโลราโด มีการใช้ต้นอินเดียนมัสตาร์ดที่ได้รับการถ่ายยีนจากวัชพืช เพื่อให้เจริญเติบโตได้ดีและดูดซับสารตะกั่วได้มากขึ้น และยังมีการสร้างต้นยาสูบที่สามารถดูดสารทีเอ็นทีและอาร์ดีเอ็กซ์ ซึ่งเป็นวัตถุระเบิดได้
แนว โน้มการพัฒนาพืชดัดแปลงพันธุกรรม อาจแบ่งได้เป็น 2 ยุค ได้แก่ ช่วงปี พ.ศ.2533–2543 ที่เน้นการพัฒนาลักษณะทางการเกษตร เช่น ต้านทานโรค แมลง และสารกำจัดศัตรูพืช รวมถึงความทนทานต่อสภาวะที่ไม่เหมาะสม เช่น ทนเค็ม ทนแล้ง และช่วงปี พ.ศ.2543–2563 ที่เน้นการพัฒนาคุณภาพผลผลิตให้มีลักษณะที่ต้องการหลายประการในพืชชนิดเดียว เช่น ต้านทานทั้งแมลงและสารกำจัดวัชพืช รวมไปถึงเรื่องเวชภัณฑ์
ปัจจุบัน ทั่วโลกมีการปลูกพืชดัดแปลงพันธุกรรมเพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี พ.ศ.2546–2549 เพิ่มขึ้นเกือบ 20% จากการรวบรวมข้อมูลจาก 63 ประเทศ พบว่ามีงานวิจัยด้านพันธุวิศวกรรมในพืชอาหารและพืชเส้นใย ทั้งที่อยู่ระหว่างการทดลองและมีจำหน่ายแล้วทั้งสิ้น 57 ชนิด ประเทศที่เป็นผู้นำในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้แก่ อเมริกา อาร์เจนตินา จีน แคนาดา และบราซิล สำหรับประเทศที่งานวิจัยมีความก้าวหน้ามากได้แก่ ออสเตรเลีย ยุโรปตะวันตก เม็กซิโก แอฟริกาใต้ และประเทศที่น่าจับตามองคือ อินโดนีเซีย อียิปต์ และอินเดีย ซึ่งกำลังพัฒนางานวิจัยด้านพันธุวิศวกรรมพืชอย่างมาก
สำหรับประเทศไทยมี งานวิจัยเพื่อการพัฒนาพันธุวิศวกรรมในพืชหลายชนิด เช่น มะละกอเพื่อให้ต้านทานต่อโรคจุดวงแหวนที่เกิดจากเชื้อไวรัส หรือ มะเขือเทศเพื่อให้ต้านทานต่อโรคใบหงิกเหลือง เป็นต้น อย่างไรก็ตามงานวิจัยเหล่านี้ยังไม่สามารถพัฒนาไปจนสำเร็จลุล่วงได้เนื่อง จากข้อจำกัดหลายประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการไม่สามารถทดสอบพืชดัดแปลงพันธุกรรมในภาคสนามได้มา ตั้งแต่ปี  พ.ศ.2544 จึงเป็นที่น่าสนใจว่าประเทศไทยจะมีนโยบายและกลยุทธ์เกี่ยวกับพืชดัดแปลง พันธุกรรมไปในทิศทางใด จึงจะก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในโลกปัจจุบันได้


อ้างอิง
จากบทความ “ก้าวทันเทคโนโลยีพันธุวิศวกรรมพืช” เขียนโดย
รศ.ดร. จรัญญา ณรงคะชวนะ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ชาลีนี คงสวัสดิ์ และจินตนา จันทร์เจริญฤทธิ์ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ


Protein Synthesis Animation Video (DNA กับการสังเคราะห์โปรตีน)

DNA กับการสังเคราะห์โปรตีน

โครงสร้างและชนิดของ RNA

RNA มีโครงสร้างคล้าย DNA ประกอบด้วยนิวคลีโอไทด์เรียงต่อกันด้วยพันธะฟอสโพไดเอสเทอร์เป็นโพลีนิวคลี โอไทด์ แต่องค์ประกอบนิวคลีโอไทด์แตกต่างกันที่น้ำตาลและเบส โดย น้ำตาลของ RNA เป็นไรโบส ส่วนเบสใน RNA มียูราซิล (u) มาแทนไทมีน(T)


RNA ในเซลล์มีปริมาณมากมาย มากกว่า DNA 5-10 เท่า หน้าที่หลักเกี่ยวข้องกับ กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน RNA ในเซลล์ส่วนใหญ่เป็นสายเดี่ยว (single standed) เนื่องจาก RNA ต้องมีโครงสร้างสามมิติที่ถูกต้องสำหรับทำหน้าที่ภายในเซลล์ดังนั้น RNA อาจจะเสียสภาพได้ด้วยความร้อน และpHสูงๆ เช่นเดียวกับ DNA แต่โครงสร้างส่วนที่เป็นเกลียวเป็นช่วงสั้นๆเท่านั้น จึงทำให้เสียสภาพได้ง่ายกว่า DNA
ชนิดของ RNA

ภายในเซลล์มี RNA 3 ชนิด ดังนี้

1.เมสเซนเจอร์อาร์เอ็นเอ หรือ เอ็มอาร์เอ็นเอ ( messenger RNA : mRNA) เป็นอาร์เอ็นเอที่ได้จากกระบวนการถอดรหัส ( transcription ) ของสายใดสายหนึ่งของดีเอ็นเอ ซึ่งจะทำหน้าที่เป็นรหัสพันธุกรรมที่ใช้ในการสังเคราะห์โปรตีน



2.ทรานสเฟอร์อาร์เอ็นเอ หรือ ทีอาร์เอ็นเอ ( transfer RNA : tRNA) อาร์เอ็นเอชนิดนี้ผลิตจากดีเอ็นเอเช่นเดียวกัน ทำหน้าที่ในการนำกรดอะมิโนต่างๆ ไปยังไรโบโซม ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์โปรตีน ในไซโทพลาซึม


3.ไรโบโซมอลอาร์เอ็นเอ หรือ อาร์อาร์เอ็นเอ (ribosomal RNA : rRNA ) อาร์เอ็นเอชนิดนี้ผลิตจากดีเอ็นเอโดยกระบวนการถอดรหัสเช่นเดียวกัน แต่ทำหน้าที่เป็นองค์ประกอบของไรโบโซมโดยอาร์เอ็นเอรวมกับโปรตีนกลายเป็น หน่วยของไรโบโซม




การสังเคราะห์ RNA

การสังเคราะห์ RNA จำเป็นต้องอาศัย DNA สายหนึ่งเป็นต้นแบบ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้
      1.พอลินิวคลีโอไทด์สองสายของดีเอ็นเอคลายเกลียวแยกจากกันบริเวณที่
จะมีการสังเคราะห์ RNA
      2.นำนิวคลีโอไทด์ของ RNA เข้าจับกับเบสของ DNA แต่ใน RNA ไม่มีไทมีน(T)
มียูราซิล (U) แทน
      3.การสังเคราะห์ RNA เริ่มจากปลาย 3’ไปยังปลาย 5’ของ DNA โมเลกุลของ RNA จึงเริ่มจากปลาย 5′ ไปยังปลาย 3′
      4.นิวคลีโอไทด์ของ RNA เชื่อมต่อกันโดยอาศัย เอนไซม์ ชื่อ อาร์เอ็นเอพอลิเมอเรส ( RNA polymerase)
ขั้นตอนการสังเคราะห์ RNA โดยมี DNA เป็นแม่พิมพ์นี้ เรียกว่า ทรานสคริปชัน(transcription)










รหัสพันธุกรรม

รหัสพันธุกรรม คือ ลำดับของเบสบน DNA ซึ่งถ่ายทอดไปยัง RNA ในการสังเคราะห์โปรตีน เบสใน DNA มีเพียง 4 ตัว ส่วนกรดอะมิโนมีอย่างน้อย 20 ชนิด ดังนั้นรหัสหนึ่ง ๆ จะต้องประกอบด้วยเบสอย่างน้อย 3 ตัว ประกอบกัน และจากการคำนวณรหัสหนึ่งมีเบส 3 ตัวจะได้รหัสจำนวนถึง 64 รหัสด้วยกัน ซึ่งมากเกินพอสำหรับกรดอะมิโนที่มีอยู่ในธรรมชาติ จากการทดลองทำให้ทราบว่ามีหลาย ๆ รหัสที่มีความหมายสำหรับกรดอะมิโนตัวเดียวกัน รหัสบน mRNA นี้เรียกว่า โคดอนซึ่งมีเบสคู่รวมกับเบสอิสระ บน tRNA ที่เรียกว่า แอนทิโคดอน





การสังเคราะห์โปรตีน

DNA ทำหน้าที่ในการกำหนดชนิดของโปรตีนที่เซลล์สังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อนำไปใช้ใน กิจกรรมต่างๆ ภายในเซลล์ ลำดับเบสในโมเลกุลของ   DNA ของยีนหนึ่งจะเป็นตัวกำหนดการเรียงตัวของกรดอะมิโนชนิดต่างๆ ของโปรตีนที่จะสังเคราะห์ขึ้นมา
DNA แต่ละโมเลกุลแตกต่างกันที่ลำดับเบส ซึ่งมีเพียง 4 ชนิด คือ A  T  C  G  ถ้ามีนิวคลีโอไทด์ 2 โมเลกุลเรียงต่อกัน  ลำดับเบส  4 ตัว นี้จะแตกต่างกัน เท่ากับ 42 = 16 แบบได้แก่ AA  AT  TA  AC  CA  AG  GA  TT  TC  CT  TG  GT  CC  CG  GC  และGG  จำนวน 16 แบบนี้ ไม่เพียงพอที่จะเป็นรหัสให้แก่กรดอะมิโนซึ่งมีประมาณ 20 ชนิด ถ้ามีนิวคลีโอไทด์ 3 โมเลกุลเรียงต่อกัน  ลำดับเบส 4 ตัวนี้ จะแตกต่างกันเท่ากับ 43 = 64 แบบ ซึ่งเกินกว่าจำนวนชนิดของกรดอะมิโนที่มีอยู่
ใน พ.ศ. 2504 เอ็ม.ดับบลิว. ไนเรนเบิร์ก ( M.W.Nirenberg) และ เจ.เอ็ช. แมททัย ( J.H.  Matthei)  ชาวอเมริกัน  ได้ค้นพบรหัสพันธุกรรมแรก คือ   UUU ซึ่ง เป็นรหัสของกรดอะมิโนชนิด ฟินิลอะลานีน ( phenylalanine) และต่อมามีการค้นพบเพิ่มเติมขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั่งใน พ.ศ. 2509 พบรหัสพันธุกรรมถึง 61 รหัสด้วยกัน เหลือเพียง 3 รหัส คือ UAA , UAG และ  UGA ซึ่งไม่พบเป็นรหัสของกรดอะมิโนใดๆ ภายหลังจึงพบว่า รหัสทั้งสามนี้ทำหน้าที่หยุดการสังเคราะห์โปรตีน  นอกจากนี้ยังพบว่า AUG ซึ่งเป็นรหัสของกรดอะมิโนชนิดเมไทโอนีน ( methionine ) เป็นรหัสตั้งต้นของการสังเคราะห์โปรตีนอีกด้วยการสังเคราะห์โปรตีนเป็น กระบวนการที่เกิดขึ้นในไซโทพลาซึมของเซลล์โดยมีออร์แกเนล์ ที่เกี่ยว ข้องคือไรโบโซม เมื่อDNA ภายในนิวเคลียส  สังเคราะห์ mRNA    ลำดับของ mRNA ซึ่งเป็นรหัสพันธุกรรมนี้ถูกกำหนดโดยลำดับเบสของDNA เรียก ขั้นตอนการสังเคราะห์mRNA ว่า การถอดรหัสพันธุกรรม  (Transcription)    mRNAจะถูกส่งออก มาที่ไซโทพลาซึม โดยmRNAจะนำรหัสพันธุกรรมไปสู่การ สังเคราะห์โปรตีน  โดยการทำงานของไรโบโซม ร่วมกับ tRNA ที่ทำหน้าที่ นำกรดอะมิโนมาเรียงต่อกันตามรหัสพันธุกรรม ของ mRNA   ไรโบโซมหน่วยเล็กจะเข้าไปจับกับmRNAก่อน ต่อจากนั้นtRNA โมเลกุลแรกนำกรดอะ มิโนเข้าจับกับ mRNA ในไรโบโซม แล้วไรโบโซมหน่วยใหญ่จึงจะเข้าจับ ต่อจาก นั้น tRNA โมเลกุลที่สองจะเข้าจับกับ mRNA อิกตำแหน่งหนึ่ง  จนกระทั่งไรโบโซมเครื่อนที่ไปพบรหัสที่ทำหน้าที่หยุดการสังเคราะห์โปรตีนไร โบโซม ก็จะแยกออกจากmRNA การสังเคราะห์โปรตีนจึงสี้นสุดลงและการสังเคราะแบบ นี้เรียกว่า  การแปลรหัสพันธุกรรม (Translation)
ที่มา bioweb.uwlax.edu/GenWeb/Molecular/Theory/Translation/translation.htm
ที่มา bioweb.uwlax.edu/GenWeb/Molecular/Theory/Translation/translation.htm



อ้างอิง

การสังเคราะห์ DNA

การสังเคราะห์ DNA

       วอตสันและคริกค้นพบโครงสร้างทางเคมีของ DNA ขั้นตอนต่อไปก็คือ การพิสูจน์และตรวจสอบว่าโครงสร้างของ DNA นี้ มีสมบัติเพียงพอที่จะเป็นสารพันธุกรรมได้หรือไม่ ซึ่งการที่จะเป็นสารพันธุกรรมได้นั้นย่อมต้องมีสมบัติสำคัญ คือ

ประการแรก ต้องสามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้โดยมีลักษณะเหมือนเดิมเพื่อให้สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้
ประการที่สอง สามารถควบคุมให้เซลล์สังเคราะห์สารต่างๆเพื่อแสดงลักษณะทางพันธุกรรมให้ปรากฏ
ประการที่สาม ต้อง สามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดลักษณะพันธุกรรมที่ผิดแปลกไปจาก เดิมและเป็นช่องทางให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆขึ้น หลังจากวอตสันและคริกได้เสนอโครงสร้างของ DNA แล้วในระยะเวลาเกือบ 10 ปี  ต่อมา จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่า DNA มีสมบัติเป็นสารทางพันธุกรรม วอตสันและคริกจึงได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานการค้นพบโครงสร้าง DNA ใน ปี พ.ศ. 2505 นับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่จะค้นคว้าในระดับโมเลกุลต่อไป วอตสันและคริกได้เสนอโครงสร้างของ DNA ว่าเป็น พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายพันกันบิดเป็นเกลียว ดังโครงสร้างของ DNA ตามแบบจำลองนี้ได้นำไปสู่กลไกพื้นฐานของการสังเคราะห์ DNA หรือการจำลองตัวเองของ DNA โดยนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองได้พยากรณ์กลไกจำลอง DNA ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
          ในปี พ.ศ. 2496 วอตสันและคริกได้พิมพ์บทความพยากรณ์การจำลองตัวของ DNA ไว้ว่า ในการจำลองตัวของ DNA พอ ลินิวครีโอไทด์ 2 สาย แยกออกจากกันเหมือนการรูดซิบโดยการสลายพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบส A กับ T และเบส C กับ G ที่ละคู่ พอลินิวคลีโอไทด์แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่พิมพ์สำหรับการสร้างสายใหม่ มีการนำนิวคลีโอไทด์อิสระที่อยู่ในเซลล์เข้ามาจับกับ พอลินิวคลีโอไทด์สายเดิม โดยเบส A จับกับ T และเบส C จับกับ G  หมู่ฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์ อิสระจะจับกับน้ำตาลออสซีไรโบสของ DNA โดยวิธีนี้เรียกว่า DNA เรพลิเคชั่น ( DNA replication ) ทำให้มีการเพิ่มโมเลกุลของ DNA จาก 1 โมเลกุลเป็น 2 โมเลกุล DNA แต่ ละโมเลกุลมีพลลินิวคลีโอไทด์ สายเดิม 1 สาย และสายใหม่ 1 สาย จึงเรียกการจำลองลักษณะว่า เป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ ( semiconservatiae ) ดังภาพ

ที่มา ncc.gmu.edu/dna/replicat.htm


 การจำลองตัวเองของ  DNA

การจำลองตัวเองของ DNA  (DNA REPLICATION)
DNA  สามารถเพิ่มจำนวนได้โดยการจำลองตัวเอง (self replication)
ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่สำคัญมากในการทำหน้าที่ถ่ายลักษณะทางพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง การจำลองตัวของดีเอ็นเอเริ่มจากการคลายเกลียวออกจากกันแล้วใช้สายพอลินิวคลีโอไทด์สายใดสายหนึ่งใน 2 สายเป็นแม่พิมพ์ (template) ในการสร้างสายใหม่ขึ้นมา ซึ่งสุดท้ายดีเอ็นเอที่จำลองใหม่จะประกอบด้วยสายพอลินิวคลีโอไทด์สายเดิมและสายใหม่  นอกจากนี้ ดีเอ็นเอ  ยังทำหน้าที่เป็นแม่แบบของการสร้างสายอาร์เอ็นเอ  ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งกระบวนการต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยเอนไซม์จำเพาะหลายชนิดในการควบคุมปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เช่น ดีเอ็นเอโพลิเมอเรส (DNA polymerase) อาร์เอ็นเอโพลิเมอเรส (RNA polymerase) เฮลิเคส (helicase) ไลเกส (ligase) เป็นต้น

เมื่อ DNA สองสายคลายเกลียวแยกออกจากกันDNA polymerasจะสังเคราะห์leading strand เป็นสายยาว โดยมีทิศทางจากปลาย 5, ไปยัง3, เรียกว่า การสร้างสาย leading strandDNA polymeras gxHodkiสังเคราะห์ DNA สายใหม่เป็นสายสั้นๆ (Okazaki fragment๗โดยมีทิศทาง 5, ไปยัง 3, จากนั้น DNA ligaseจะเชื่อมต่อ DNA สายสั้นๆให้เป็นDNA สายยาว เรียกว่า การสร้าง lagging strand



การจำลองตัวเองของ DNA ตามสมมติฐานของนักวิทยาศาสตร์มีดังนี้

1. แบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNA แล้ว DNA แต่ละโมเลกุลมีพอลินิวคลีโอไทด์ สายเดิมและสายใหม่ ซึ่งเป็นแบบจำลองของวอตสันและคลิก
2 แบบอนุรักษ์ (conservative replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNA แล้ว พอลินิวคลีโอไทด์ทั้งสองสายไม่แยกจากกันยังเป็นสายเดิม จะได้ DNA โมเลกุลใหม่ที่มีสายของโมเลกุลพอลินิวคลีโอไทด์สายใหม่ทั้งสองสาย
3. แบบกระจัดกระจาย (dispersive replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNA จะได้ DNA ที่เป็นของเดิมและของใหม่ปะปนกันไม่เป็นระเบียบ

ที่มา 
อ้างอิง
     •www.kik5.com/index.php?option=com_content&view=article&id=113:6-1&catid=39:-6-dna&Itemid=62
     •www.school.net.th/library/create-web/10000/science/10000-829.html